หน้าเว็บ

คำชี้แจง

คำชี้แจง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราช-
เจ้า ทรงตั้งกรรมการตรวจชำระแบบเรียนขึ้นคณะหนึ่ง และพระมหา
ทองสืบ ป. ๘ วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นกรรมการ ผู้เรียบเรียงร่าง
พุทธศาสนสุภาษิตนี้ เมื่อคณะกรรมการตรวจชำระแล้ว จึงให้พิมพ์เป็น
พุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๑ สำหรับใช้เป็นหลักสูตรนักธรรมสืบไป.

ในการตรวจชำระพุทธศาสนสุภาษิตนี้ มีข้อควรชี้แจง ดังนี้

๑. อาศัยคำนำในพุทธศาสนสุภาษิตฉบับเดิมว่า " มีเวลาทำ
น้อย ระเบียบที่จัดไม่เรียบร้อยไปโดยตลอด " ดังนี้ ภายหลังจึงได้
แก้ไขเปลี่ยนแปลงต่อมาหลายครั้ง เช่นการแยกหมวดธรรม แก้คำแปล
และเพิ่มใหม่เป็นต้น คราวนี้ได้แก้รูปปรับปรุงใหม่ เพื่อให้ยุตติเป็น
พุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๑.

๒. พุทธศาสนสุภาษิตเล่มแรกมี ๒๔๙ ข้อ พิมพ์ครั้งที่ ๘/๒๔๖๖
เพิ่มขึ้น ๓๗ ข้อ ครั้งที่ ๑๐/๒๔๖๗ เพิ่มขึ้น ๒๔๙ ข้อ และครั้งที่
๑๓/๒๔๗๒ เพิ่มขึ้น ๘๖ ข้อ รวมเพิ่มใหม่ ๓๗๒ ข้อ รวมทั้งสิ้นมี
๖๒๑ ข้อ ส่วนในการตรวจชำระครั้งนี้ (ที่ ๑๔/๒๔๗๗) ได้ตัดที่เฝือ
ออกเสีย ๑๖๐ ข้อ แต่เพิ่มใหม่อีก ๓๙ ข้อ จึงยุตติเป็นพุทธศาสนสุภาษิต
เล่ม ๑ มีสุภาษิต ๕๐๐ ข้อ.

๓. พุทธศาสนสุภาษิตนี้ มีอรรถเป็น ๒ อย่าง คือ แสดงสภาว-
ธรรม ๑ แสดงโอวาท ๑ การคัดเลือกสุภาษิตได้ถือหลักนี้ และเว้น
ภาษิตอื่นอันแย้งกับพุทธวจนะอย่าง ๑ เว้นคำปฏิญญาหรือแสดงมติ
อันขัดกับอรรถทั้งสองนั้นอีกอย่าง ๑.

๔. การจัดหมวดธรรม ได้เรียงตามลำดับอักษร ในหมวดหนึ่ง ๆ
นั้น ที่เนื่องด้วยอรรถ ก็เรียงไว้ตามลำดับอรรถ ที่เนื่องด้วยธรรม
ก็เรียงไว้ตามลำดับธรรม ที่เนื่องด้วยบุคคล ก็เรียงไว้ตามประเภท ที่
เนื่องด้วยโอวาท ก็เรียงไว้ตามข้อห้ามและคำสอน.

๕. คำแปลทั้งปวงอาศัยรูปเรื่องบ้าง อรรถกถาบ้าง สำนวน
ภาษบ้าง มีบางข้อที่พึ่งแก้ไขคำแปลแปลกจากฉบับก่อน ๆ เพราะได้
หลักฐานตามที่กล่าวแล้วนั้นเป็นสำคัญ.

๖. เลขบอกที่มาแห่งสุภาษิตนั้น ๆ ได้ค้นคัดจากพระไตรปิฎก
ฉบับสยามรัฐ ๔๕ เล่ม บางสุภาษิตมีที่มาหลายคัมภีร์ ก็ได้ระบุอักษร-
ย่อและเลขหน้าไว้หลายแห่ง อักษรย่อและเลข หมายความว่า ชื่อและ
หน้าและคัมภีร์นั้น ๆ เช่น ขุ. ธ. ๒๕/๒๙. หมายความว่า ขุททกนิกาย
ธรรมบท พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ หน้า ๒๙ ดังนี้เป็นต้น.

กองตำรา
มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๗

คำนำ (สำหรับฉบับที่ ๒)

คำนำ
(สำหรับฉบับที่ ๒)

หนังสือนี้เรียบเรียงขึ้น โดยกระแสพระราชดำริแห่งพระบาท-
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานเป็นของแจก ใน
งานเลื่อนกรมข้าพเจ้าเป็นกรมหลวง ที่ทรงเป็นพระราชธุระส่วนพระ-
องค์ โดยฐานทีทรงตั้งอยู่ในที่เป็นผู้ใหญ่ของข้าพเจ้า มีความแจ้งใน
พระราชปรารภต่อนี้ไป.

ต่อมาในรัชกาลปรัตยุบันนี้ จัดหลักสูตรสอบความรู้องค์
นักธรรมขึ้น หนังสือนี้ได้ใช้เป็นหลักสูตรสำหรับตั้งกระทู้ให้เรียง
ความแก้ ที่พิมพ์ครั้งที่ ๑ หมดไปแล้ว จึงให้พิมพ์ขึ้นใหม่เป็นของ
มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นครั้งที่ ๒.

กรม - วิชิรญาณวโรรส
วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ ๘ มิถุนายน ๑๔๕๘

คำนำ (สำหรับฉบับที่ ๑)

คำนำ
(สำหรับฉบับที่ ๑)

อันคำสุภาษิตย่อมเป็นที่นิยมของหมู่ชนทั้งหลาย แม้ต่างชาติ
ต่างภาษาและต่างศาสนา ต่างก็มีสุภาษิตในหมู่ของตน ผูกขึ้นตาม
ความนิยมให้ถูกแก่คราว แต่ก็เป็นธรรมดาของความดีที่ปรากฏ แก่ใจ
ของปราชญ์ ถึงจะไม่ได้รับความคิดจากกันมาโดยทางใดทางหนึ่ง ก็
ยังดำริร่วมกันได้ก็มี แต่ข้อที่ต่างก็มีเหมือนกัน เพราะความนิยม
ของฝ่ายหนึ่งย่อมต่างจากของอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างไรก็ดี คำสุภาษิต
ทั้งนั้น ย่อมเป็นคำสั้น ๆ จำได้ง่ายทั้งไพเราะมีความกว้าง ผู้ผูกขึ้น
เลือกความกล่าวให้เป็นที่จับใจ. ฝ่ายของไทยเราก็มีหลายอย่าง มี
สุภาษิตพระร่วงเป็นต้น ที่เลือกความมาจากบาลีก็มีบ้าง เช่นโลกนิติ.
ความคิดรวมสุภาษิตนี้ขึ้น ก็เพื่อจะเลือกคำสอนฝ่ายพระพุทธศาสนา
ไว้ในหมวดเดียวกัน จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ฝึกสอนผู้ศึกษา และผุ้
ปฏิบัติในทางนั้นอีกเรื่องหนึ่ง เช่นหนังสือนวโกวาทที่เป็นอยู่บัดนี้.

เพราะเหตุนั้น ในที่นี้ไม่ได้เก็บสุภาษิตของพวกถือลัทธิอื่นมากล่าว
มีแต่คำที่มาในพระคัมภีร์ฝ่ายพระพุทธศาสนา คำที่สั้นก็ได้ชักมาไว้
ตรง ๆ คำที่ยาวเกินกว่าต้องการในที่นี้ได้ย่นให้ส้นั ลง แต่คงใจความ
ตามเดิม คำเช่นนี้ได้เรียกว่านัย ได้แปลความไทยกับทั้งได้บอกที่มา
ไว้ด้วย อีกอย่างหนึ่ง คำทีท่านผู้รู้ปริยัติทั้งหลายอื่นบ้าง ข้าพเจ้าเอง
บ้าง อาศัยมติข้างพระพุทธศาสนาผูกขึ้นไว้ เพื่อประโยชน์เฉพาะเป็น
ข้อสุภาษิตบ้าง เพื่อประโยชน์อื่นบ้าง เข้าพวกกันได้ก็ได้นำมารวบ.
รวมไว้ด้วย แต่ข้างท้ายได้บอกนามผู้แต่งหรือหนังสือที่แต่งไว้. ข้อ
สุภาษิตในเรื่องนี้ ได้จัดสงเคราะห์เข้าเป็นหมวด ๆ เช่นว่าด้วยปัญญา
หรือความสัตย์ ก็รวมไว้ตามพวก และชื่อหมวดนั้น ก็จัดเข้าลำดับ
อักษรอื่นเพื่อค้นหาง่าย.

หนังสือนี้ เรียบเรียงขึ้นโดยกระแสพระราชดำริแห่งสมเด็จบรม-
บพิตรพระราชสมภารเจ้า ดังมีแจ้งต่อไปนี้ เพื่อพระราชทานเป็นของ
แจกในงานเลื่อนกรมข้าพเจ้า ที่ทรงเป็นพระราชธุระส่วนพระองค์ โดย
ฐานที่ทรงตั้งอยู่ในทีเป็นผู้ใหญ่ของข้าพเจ้า. มีเวลาทำน้อย ระเบียบที่
จัดไม่เรียบร้อยไปโดยตลอด และคัมภีร์เป็นที่มาบางแห่ง ก็ต้องอ้าง
แต่ที่เป็นชั้นรอง เช่นมังคลัตถทีปนี ที่ชักคำในแห่งอื่นมากล่าวไว้อีก
ต่อหนึ่ง ถึงอย่างไรก็พอจะยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ตามความมุ่งหมาย
ซึ่งกล่าวแล้วในข้างต้น.

กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที ๑๖ ตุลาคม ร. ศ๓๙. ๑๒๕

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 1

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน

๑. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย.
ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๙.

๒. อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
ได้ยินว่าตนแล ฝึกได้ยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๓. อตฺตา สุทฺนฺโต ปุริสสฺส โชติ.
ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นแสงสว่างของบุรุษ.
สํ. ส. ๑๕/๒๔๘.

๔. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ.
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖,๖๖.

๕. อตฺตา หิ อตฺตโน คติ.
ตนเทียว เป็นคติของตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 2

๖. อตฺตา หิ ปรมํ ปิโย.
ตนแล เป็นที่รักยิ่ง.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๗. นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ.
ความรัก (อื่น) เสมอด้วยตนไม่มี.
สํ. ส. ๑๕/๙.

๘. อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ.
ตนทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๙. อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ.
ตนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๑๐. อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา.
มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด.
ขุ. สุ. ๒๕๑๓๓๙.

๑๑. อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.
บัณฑิต ย่อมฝึกตน.
ม. ม. ๑๓/๔๘๗. ขุ. ธ. ๒๕/๒๕. ขุ. เถร. ๒๖/๓๘๙.

๑๒. อตฺตานํ ทมยนตฺติ สุพฺพตา.
ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 3

๑๓. อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.
ผู้มีตนฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๑๔. โย รกฺขติ อตฺตานํ รกฺขิโต ตสฺส พาหิโร.
ผู้ใดรักษาตนได้ ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย.
องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๔๑๗.

๑๕. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ.
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๑๖. ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต.
สํ. มหา. ๑๙/๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๑๗. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ.
ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๑๘. อตฺตนา โจทยตฺตานํ.
จงเตือนตนด้วยตนเอง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.

๑๙. ปฏิมํเสตมตฺตนา.
จงพิจารณาตนด้

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 4

๒๐. ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.

๒๑. อตฺตานุรกฺขี ภว มา อฑยฺหิ.
จงเป็นผู้ตามรักษาตน อย่าได้เดือดร้อน.
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๗๒.

๒๒. อตฺตานญฺจ น ฆาเตสิ.
อย่าฆ่าตนเสียเลย.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๒๗๙.

๒๓. อตฺตานํ น ทเท โปโส.
บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๒๔. อตฺตานํ น ปริจฺจเช.
บุรุษไม่พึงสละเสียซึ่งตน.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๒๕. อตฺตานํ นาติวตฺเตยฺย.
บุคคลไม่ควรลืมตน.
ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๐๓.

๒๖. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย.
ไม่ควรพร่าประโยชน์ตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 5

๒๗. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา น นํ ปาเปน สํยุเช.
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว.
สํ. ส. ๑๕/๑๐๔.

๒๘. ยทตฺตครหึ ตทกุพฺพมาโน.
ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น.
ขุ. ส. ๒๕/๔๘๖.

๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท.

๒๙. อปฺปมาโท อมตํปทํ.
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.

๓๐. อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฐํว รกฺขติ.
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด.
ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๐.

๓๑. อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ.
บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท.
สํ. ส. ๑๕/๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๓. ขุ. ธ. ๒๕/๑๙. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 6

๓๒. อปฺปมาเท ปโมทนฺติ.
บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.

๓๓. อปฺปมตฺตา น มียนฺติ.
ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.

๓๔. อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.
ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๐.

๓๕. อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณหาติ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง.
สํ. ส. ๑๕/๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๓. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๒.

๓๖. อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ.
ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม.
ที. มหา. ๑๐/๑๘๐. สํ. ส. ๑๕/๒๓๑.

๓๗. อปฺปมาทรตา โหถ.
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 7

๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม.

๓๘. กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย.
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต.
ม. อุป. ๑๔/๓๘๕.

๓๙. ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.
การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก.
นัย-สํ. ส. ๑๕/๖๘.

๔๐. สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.
กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคติ.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๔๑. สุกรํ สาธุนา สาธุ.
ความดี อันคนดีทำง่าย.
วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.

๔๒. สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ.
ความดี อันคนชั่วทำยาก.
วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.

๔๓. อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย.
ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.
สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 8

๔๔. ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ.
ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.
สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

๔๕. กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย.
ความดี ทำนั่นแล ดีกว่า.
สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

๔๖. น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ.
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.
สํ. ส. ๑๕/๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

๔๗. ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.
ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.
สํ. ส. ๑๕/๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

๔๘. สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ.
การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

๔๙. ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.
การใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

๕๐. น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา.
สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย.
สํ. ส. ๑๕/๑๐๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 9

๕๑. กลฺยาณการี กลฺยาณํ. ปาปการี จ ปาปกํ.
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว.
สํ. ส. ๑๕/๓๓๓. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๔.

๕๒. กมฺมุนา วตฺตี โลโก.
สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม.
ม. ม. ๑๓/๖๔๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๕๗.

๕๓. นิสมฺม กรณํ เสยฺโย.
ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า.
ว. ว.

๕๔. กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ.
สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้.
ส. ส.

๕๕. ปฏิกจฺเจว ตํ กยิรา ยํ ชญฺญา หิตมตฺตโน.
รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว.
สํ. ส. ๑๕/๘๑.

๕๖. กยิรา เจ กยิราเถนํ.
ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ).
สํ. ส. ๑๕/๖๗. ขุ. ธ. ๒๕๑๕๖.

๕๗. กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ.
ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 10

๕๘. กาลานุรูปํว ธุรํ นิยุญฺเช.
พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว.
ว. ว.

๕๙. รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา.
พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม.
ส. ส.

๖๐. กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ.
พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔.

๖๑. นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ.
ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔.

๖๒. มา จ สาวชฺชมาคมา.
อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย.
ส. ฉ.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 11

๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส.

๖๓. สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม.
ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน.
สํ. ส. ๑๕/๓๒. อง. ฉกฺก. ๒๒/๔๖๐.

๖๔. น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา.
กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์.
สํ. ส. ๑๕/๓๑.

๖๕. กาเมหิ โลกมฺหิ น อตฺถิ ติตฺติ.
ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

๖๖. น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ.
ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝนคือกหาปณะ.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๐. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๒.

๖๗. นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ.
ทุกข์ (อื่น) ยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี.
ขุ. ชา. เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕.

๖๘. นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 12

๖๙. อิจฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา.
ความอยากละได้ยากในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๗๐. อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา.
ความอยากมีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๔.

๗๑. อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ.
ความอยากย่อมเสือไสซึ่งนรชน.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๗๒. นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ.
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕-๔๒,๔๘.

๗๓. โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ.
ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๙.

๗๔. อติโลโภ หิ ปาปโก.
ความละโมบเป็นบาปแท้.
วิ. ภิ. ๓/๙๖. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๔.

๗๕. นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ.
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 13

๗๖. ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ.
ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป.
ม. ม. ๑๓/๔๑๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

๗๗. อูนา ว หุตฺวาน ชหนฺติ เทหํ.
ผู้บริโภคกามเป็นผู้พร่อง ละร่างกายไป.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

๗๘. โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ หนฺติ อญฺเญว อตฺตนํ.
ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้
โภคทรัพย์.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๗๙. อวิชฺชานิวุตา โปสา.
คนทั้งหลายอันอวิชชาหุ้มห่อไว้.
วิ. จุล. ๗/๔๐๐. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๓.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 14

๘๐. น หิ สาธุ โกโธ.
ความโกรธไม่ดีเลย.
ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๑๘๘.

๘๑. โกโธ สตฺถมลํ โลเก.
ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๘๒. อนตฺถชนโน โกโธ.
ความโกรธก่อความพินาศ.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๘๔. อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โกโธ สหเต นรํ.
ความโกรธครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดมนย่อมมีเมื่อนั้น.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙. ขุ. มหา. ๒๙/๑๘.

๘๕. อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช.
ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทนจึงทวีขึ้น.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๓.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 15

๘๖. โกโธ ทุมฺเมธโคจโร.
ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนมีปัญญาทราม.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๘๐.

๘๗. โทโส โกธสมุฏฺฐาโน.
โทสะมีความโกรธเป็นสมุฏฐาน.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๓.

๘๘. นตฺถิ โทสสโม คโห.
ผู้จับเสมอด้วยโทสะ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

๘๙. นตฺถิ โทสสโม กลิ.
ความผิดเสมอด้วยโทสะไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๙๐. โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ.
ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข.
สํ. ส. ๑๕/๕๗, ๖๔.

๙๑. โกธํ ฆตฺวา น โสจติ.
ฆ่าความโกรธได้ ไม่เศร้าโศก.
สํ. ส. ๑๕/๕๗, ๖๔.

๙๒. โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ.
ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย.
นัย. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๘๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 16

๙๓. โกธโน ทุพฺพณฺโณ โหติ.
คนมักโกรธ ย่อมมีผิวพรรณเศร้าหมอง.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๔. ทุกฺขํ สยติ โกธโน.
คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์.
นัย. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๕. อโถ อตฺถํ คเหตฺวาน อนตฺถํ ปฏิปชฺชติ.
คนมักโกรธถือเอาประโยชน์แล้ว กลับประพฤติไม่เป็นประโยชน์.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๖. โกธาภิภูโต ปุริโส ธนชานึ นิคจฺฉติ.
ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๗. โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติ.
ผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๘.

๙๘. ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ.
ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 17

๙๙. กุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ.
ผู้โกรธ ย่อมไม่รู้อรรถ.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๐. กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ.
ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๑. ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ.
ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๒. ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ.
ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือน
ถูกไฟไหม้.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๓. โกเธน อภิภูตสฺส น ทีปํ โหติ กิญฺจินํ.
ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมไม่มีที่พำนักสักนิดเดียว.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๑๐๔. หนฺติ กุทฺโธ สมาตรํ.
ผู้โกรธ ย่อมฆ่ามารดาของตนได้.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 18

๑๐๕. โกธชาโต ปราภโว.
ผู้เกิดความโกรธแล้ว เป็นผู้ฉิบหาย.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๑๐๐.

๑๐๖. โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท.
พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ.
นัย. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๑๐๐.

๑๐๗. โกธํ ปญฺญาย อุจฺฉินฺเท.
พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา.
นัย-องฺ. สตฺตก. ๒๓/๑๐๐.

๑๐๘. มา โกธสฺส วสํ คมิ.
อย่าลุอำนาจความโกรธ.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๙.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 19

๖. ขันติวรรค คือ หมวดอดทน

๑๐๙. ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา.
ขันติคือความอดทน เป็นตปะอย่างยิ่ง.
ที. มหา. ๑๐/๕๗. ขุ. ธ. ๒๕/๔๐.

๑๑๐. ขนฺติ สาหสวารณา.
ความอดทน ห้ามไว้ได้ซึ่งความผลุนผลัน.
ว. ว.

๑๑๑. ขนฺติ หิตสุขาวหา.
ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข.
ส. ม.

๑๑๒. ขนฺติ ธีรสฺสลงฺกาโร.
ความอดทน เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์.
ส. ม.

๑๑๓. ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน.
ความอดทน เป็นตปะของผู้พากเพียร.
ส. ม.

๑๑๔. ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ.
ความอดทน เป็นกำลังของนักพรต.
ส. ม.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 20

๑๑๕. ขนฺติพลา สมณพฺราหฺมณา.
สมณพราหมณ์ มีความอดทนเป็นกำลัง.
องฺ. อฏฐก. ๒๓/๒๒๗.

๑๑๖. มนาโป โหติ ขนฺติโก.
ผู้มีความอดทน ย่อมเป็นที่ชอบใจ (ของคนอื่น).
ส. ม.

๗. จิตตวรรค คือ หมวดจิต

๑๑๗. จิตฺเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา.
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันต้องหวัง.
ม. มู. ๑๒/๖๔.

๑๑๘. จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา.
เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้.
ม. มู. ๑๒/๖๔.

๑๑๙. จิตฺเตน นียติ โลโก.
โลกอันจิตย่อมนำไป.
สํ. ส. ๑๕/๕๔.

๑๒๐. จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ.
การฝึกจิตเป็นความดี.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 21

๑๒๑. จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๑๒๒. จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๑๒๓. วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี.
ผู้ประพฤติตามอำนาจจิต ย่อมลำบาก.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๐.

๑๒๔. จิตฺตํ อตฺตโน อุชุกมกํสุ.
คนฉลาดได้ทำจิตของตนให้ซื่อตรง.
ที. มหา. ๑๐/๒๘๘.

๑๒๕. สจิตฺตปริยายกุสลา ภเวยฺยุํ.
พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน.
นัย-องฺ. ทสก. ๒๔/๑๐๐.

๑๒๖. เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข.
พึงรักษาจิตของตน. เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 22

๑๒๗. สจิตฺตมนุรกฺขถ.
จงตามรักษาจิตของตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.

๑๒๘. จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี.
ผู้มีปัญญาพึงรักษาจิต.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๑๒๙. ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ.
สํ. ส. ๑๕/๒๐.

๘. ชยวรรค คือ หมวดชนะ.

๑๓๐. ชยํ เวรํ ปสวติ.
ผู้ชนะ ย่อมก่อเวร.
สํ. ส. ๑๕/๑๒๒. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๓๑. สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ.
การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๑๓๒. สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ.
รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 23

๑๓๓. สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ.
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๑๓๔. ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๑๓๕. น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ.
ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๒.

๑๓๖. ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ.
ความชนะใดที่ชนะแล้วไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๒.

๑๓๗. อกฺโกเธน ชิเน โกธํ.
พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ 
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.
 ๑๓๘. อสาธุํ สาธุนา ชิเน.
พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.

๑๓๙. ชิเน กทริยํ ทาเนน.
พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 24

๑๔๐. สจฺเจนาลิกวาทินํ.
พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.

๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน.

๑๔๑. ทานญฺจ ยุทฺธญฺจ สมานมาหุ.
ท่านว่า ทานและการรบ เสมอกัน.
สํ. ส. ๑๕/๒๙. ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/๒๔๙.

๑๔๒. นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ อปฺปกา นาม ทกฺขิณา.
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี.
ขุ. วิมาน. ๒๖/๘๒.

๑๔๓. วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ.
การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ.
สํ. ส. ๑๕/๓๐. ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/๒๔๙. เปต. ๒๖/๑๙๗.

๑๔๔. พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ.
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๘.

๑๔๕. ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ.
ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้.
สํ. ส. ๑๕/๓๑๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 25

๑๔๖. ททํ ปิโย โหติ ภชนฺติ นํ พหู.
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา.
องฺ. ปญฺก. ๒๒/๔๓.

๑๔๗. ททมาโน ปิโย โหติ.
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๔.

๑๔๘. สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ.
ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๕.

๑๔๙. มนาปทายี ลภเต มนาปํ.
ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๕.

๑๕๐. เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ.
ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.

๑๕๑. อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ.
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.

๑๕๒. ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ.
เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น.
ที. มหา. ๑๐/๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/๒๑๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 26

๑๕๓. ทเทยฺย ปุริโส ทานํ.
คนควรให้ของที่ควรให้.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๑๗.

๑๐. ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์

๑๕๔. นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา.
ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๕๕. สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา.
สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๕๖. ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา.
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

๑๕๗. ทฬิทฺทิยํ ทุกขํ โลเก.
ความจนเป็นทุกข์ในโลก.
องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๙๔.

๑๕๘. อิณาทานํ ทุกขํ โลเก.
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก.
นัย-องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๙๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 27

๑๕๙. ทุกฺขํ อนาโถ วิหรติ.
คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์.
นัย-องฺ. ทสก. ๒๔/๒๗, ๓๑.

๑๖๐. ทุกขํ เสติ ปราชิโต.
ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์.
สํ. ส. ๑๕/๑๒๒. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๖๑. อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา.
ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๔.

๑๑. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม

๑๖๒. ธมฺโม รหโท อกทฺทโม.
ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม.
ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๒๐๒.

๑๖๓. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา.
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๕.

๑๖๔. ธมฺโม หิ อิสินํ ธโช.
ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี.
สํ. นิ. ๑๖/๒๖. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๖๖. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๕๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 28

๑๖๕. สตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย.
ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก.
สํ. ส. ๑๕/๒๖. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗๑๖๓. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗๑๒๙๔.

๑๖๖. สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ.
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า.
สํ. ส. ๑๕/๑๐๒. ขุ. ธ. ๒๕/๓๕. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๓๖.

๑๖๗. สทฺธมฺโม สพฺภิ รกฺขิโต.
ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษรักษา.
ที. มหา. ๑๐/๒๗๙.

๑๖๘. ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ.
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้.
สํ. ส. ๑๕/๕๘. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๐. ขุ. ชา. ทสก. ๒จ/๒๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.

๑๖๙. สพฺเพสํ สหิโต โหติ สทฺธมฺเม สุปติฏฺฐิโต.
ผู้ตั้งมั่นในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๔๙.

๑๗๐. ธมฺมปีติ สุขํ เสติ.
ผู้มีปีติในธรรม อยู่เป็นสุข.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๕.

๑๗๑. ธมฺมจารี สุขํ เสติ.
ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗, ๓๘. ขุ. อุ. ๒๕/๓๖๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 29

๑๗๒. ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺจารึ.
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.
ขุ. ชา. ทสกฺ ๒๗/๒๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.

๑๗๓. น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.

๑๗๔. ธมฺเม  ิตํ น วิชหาติ กิตฺติ.
เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
องฺ. ปญฺจก. ๒๓/๕๑.

๑๗๕. ธมฺเม  ิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ.
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป.
องฺ. จตุตกฺก. ๒๑/๒๕.

๑๗๖. สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย.
สภาวธรรมทั้งปวง ไม่ควรถือมั่น.
ม. ม. ๑๒/๔๖๔.

๑๗๗. โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ.
พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย.
ม. อุปฺ ๑๔/๔๗๑. สํ. ส. ๑๕/๗๘. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๓.

๑๗๘. ธมฺมํ จเร สุจิตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร.
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่ควรประพฤติให้ทุจริต.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๘. ขุ. อุ. ๒๕/๓๖๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 30

๑๗๙. สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ.
ควรเคารพสัทธรรม.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๗.

๑๘๐. กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย.
บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย.
สํ. มหา. ๑๙/๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๑๘๑. สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว.
สํ. มหา. ๑๙/๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด

๑๘๒. อฏฺฐงฺคิโก จ มคฺคานํ เขมํ อมตคามินํ.
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ เป็นทางเกษม
ให้ถึงอมตธรรม.
ม. ม. ๑๓/๒๘๑.

๑๘๓. วิสุทฺธิ สพฺพเกลฺเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ.
ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นความดับจากทุกข์
ทั้งหลาย.
ร. ร. ๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 31

๑๘๔. ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ.
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมี
ความดับไปเป็นธรรมดา.
สํ. มหา. ๑๙/๕๓๑.

๑๘๕. ยถาปจฺจยํ ปวตฺตนฺติ.
สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมเป็นไปตามปัจจัย.
ร. ร. ๔.

๑๘๖. อาโรคฺยปรมา ลาภา.
ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง.
ม. ม. ๑๓/๒๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๘๗. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา.
ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๘๘. สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ.
สังขารที่ยั่งยืน ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๙.
๑๘๙. อนิจฺจา วต สงฺขารา.

สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ.
ที. มหา. ๑๐/๑๘๑. สํ. ส. ๑๕/๘. สํ. นิ. ๑๖/๒๒๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 32

๑๙๐. ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ.
ความถึงพร้อมแห่งขณะ หาได้ยาก.
ส. ม.

๑๙๑. ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส.
การเห็นพระพุทธเจ้าเนือง ๆ เป็นการหาได้ยาก.
ม. ม. ๑๓/๕๕๔. ขุ. สุ. ๒๕/๔๔๔.

๑๙๒. ขโณ โว มา อุปจฺจคา.
ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๓๑. ขุ. ธ. ๒๕/๕๗. ขุ. สุ. ๒๕/๓๘๙.

๑๙๓. อติปตติ วโย ขโณ ตเถว.
วัยย่อมผ่านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑๒.

๑๙๔. กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา.
กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๕.

๑๙๕. อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว.
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙.

๑๙๖. นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา.
ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 33

๑๙๗. อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ กึ กริสฺสนฺติ ตารกา.
ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำ
อะไรได้.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๖.

๑๙๘. วโส อิสฺสริยํ โลเก.
อำนาจเป็นใหญ่ในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๑๙๙. สิริ โภคานมาสโย.
ศรีเป็นที่อาศัยแห่งโภคทรัพย์.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๒๐๐. กิจฺฉา วุตฺติ อสิปฺปสฺส.
ความเป็นไปของคนไร้ศิลปะ ย่อมฝืดเคือง.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๐.

๒๐๑. สาธุ โข สิปฺปกํ นาม อปิ ยาทิสกีทิสํ.
ขึ้นชื่อว่าศิลปะแม้เช่นใดเช่นหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้
สำเร็จได้.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๕.

๒๐๒. มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ.
ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ.
ว. ว.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 34

๒๐๓. หิริโอตฺตปฺปิยญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ.
หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี.
ว. ว.

๒๐๔. โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา.
เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก.
ว. ว.

๒๐๕. อรติ โลกนาสิกา.
ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย.
ว. ว.

๒๐๖. มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห.
อัชฌาสัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณา เป็นลักษณะของ
มหาบุรุษ.
ว. ว.

๒๐๗. นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา.
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี.
นัย-ส. ส.

๒๐๘. สพฺพญฺเจ ปฐวึ ทชฺชา นากตญฺญุมภิราธเย.
ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๓.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 35

๒๐๙. หนฺนติ โภคา ทุมฺเมธํ.
โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๒๑๐. สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ.
สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย.
วิ. จุล. ๗/๑๗๒. สํ. ส. ๑๕/๒๒๖. สํ. นิ. ๑๖/๒๘๔.

๒๑๑. กิโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ.
ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

๒๑๒. กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ.
ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

๒๑๓. กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ.
การฟังธรรมของสัตบุรุษ เป็นการยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

๒๑๔. กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.
ความเกิดแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

๒๑๕. อสชฺฌายมลา มนฺตา.
มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 36

๒๑๖. อนุฏฺฐานมลา ฆรา.
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๑๗. มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ.
ความเกียจคร้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๑๘. มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ.
ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๑๙. สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ.
ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ มีเฉพาะตัว.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๒๒๐. นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย.
ผู้อื่นพึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๒๒๑. สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ.
พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ.
ม. ม. ๑๒/๗๐.

๒๒๒. สุทฺสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตาโน ปน ทุทฺทสํ.
ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 37

๒๒๓. นตฺถิ โลเก รโห นาม ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต.
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก.
องฺ. ติก. ๒๐/๑๘๙. ขุ. ชา. จตุตกฺก. ๒๗/๑๓๑.

๒๒๔. เนสา สภา ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต.
สัตบุรุษไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๐. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๕๑.

๒๒๕. นตฺเถตํ โลกสฺมึ ยํ อุปาทิยมานํ อนวชฺชํ อสฺส.
สิ่งใดเข้าไปยึดถืออยู่ จะพึงหาโทษมิได้ สิ่งนั้นไม่มีในโลก.
ร. ร. ๔.

๒๒๖. โภคา สนฺนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ.
โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือน
จอมปลวกกำลังก่อขึ้น.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๒.

๒๒๗. อลํ พาลสฺส โมหาย โน จ ปารคเวสิโน.
รูปโฉมพอลวงคนโง่ให้หลงได้ แต่ลวงคนแสวงหา
พระนิพพานไม่ได้เลย.
ม. ม. ๑๓/๔๐๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

๒๒๘. รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ.
ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ.
สํ. ส. ๑๕/๕๙.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 38

๒๒๙. ถีนํ ภาโว ทุราชาโน.
ภาวะของหญิงรู้ได้ยาก.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๑.

๒๓๐. อุกฺกฏฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ.
ในเวลาคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๒๓๑. มนฺตีสุ อกุตูหลํ.
ในบรรดาที่ปรึกษา ย่อมต้องการคนไม่พูดพล่าม.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๒๓๒. ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ.
ในเวลามีข้าวน้ำ ย่อมต้องการคนที่รัก.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๒๓๓. อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ.
ในเมื่อเรื่องราวเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๒๓๔. อาปทาสุ ถาโม เวทิตพฺโพ.
กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย.
นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

๒๓๕. ยโส ลทฺธา น มชฺเชยฺย.
ได้ยศแล้ว ไม่ควรเมา.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๔๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 39

๒๓๖. จาคมนุพฺรูเหยฺย.
พึงเพิ่มพูลความสละ.
ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.

๒๓๗. สนฺติเมว สิกฺเขยฺย.
พึงศึกษาความสงบนั่นแล.
นัย-ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.

๒๓๘. โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข.
ผู้เพ่งสันติ พึงละอามิสในโลกเสีย.
สํ. ส. ๑๕/๓, ๗๗, ๙๐.

๒๓๙. ตํ คณฺเหยฺย ยทปณฺณกํ.
สิ่งใดไม่ผิด พึงถือเอาสิ่งนั้น.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑.

๒๔๐. สมฺมุขา ยาทิสํ จิณฺณํ ปรมฺมุขาปิ ตาทิสํ.
ต่อหน้าประพฤติเช่นใด ถึงลับหลังก็ให้ประพฤติเช่นนั้น.
ส. ส.

๒๔๑. อปฺปโต โน จ อุลฺลเป.
เมื่อยังไม่ถึง ไม่ควรพูดอวด.
ส. ส.

๒๔๒. สนาถา วิหรถ มา อนาถา.
ท่านทั้งหลายจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าไม่มีที่พึ่งอยู่เลย.
นัย. องฺ. ทสกฺ ๒๔/๒๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 40

๒๔๓. นาญฺญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย.
ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่.
ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๙.

๒๔๔. อาโรคฺยมิจฺเฉ ปรมญฺจ ลาภํ.
พึงปรารถนาความไม่มีโรคซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๗.

๒๔๕. อตีตํ นานฺวาคเมยฺย.
ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.
ม. อุป. ๑๔/๓๔๘.

๒๔๖. นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ.
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.
ม. อุป. ๑๔/๓๔๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 41

๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา

๒๔๗. นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา.
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี.
สํ. ส. ๑๕/๙.

๒๔๘. ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต.
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๒๔๙. โยคา เว ชายตี ภูริ.
ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบ.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.

๒๕๐. อโยคา ภูริสงฺขโย.
ความสิ้นปัญญาย่อมเกิดเพราะความไม่ประกอบ.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.

๒๕๑. สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ.
ความได้ปัญญา ให้เกิดสุข.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๒๕๒. ปญฺญา นรานํ รตนํ.
ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 42

๒๕๓. ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย.
ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์.
นัย- ม. ม. ๑๓/๔๑๓. นัย- ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๙.

๒๕๔. นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส.
ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.

๒๕๖. ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต.
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.

๒๕๗. ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ.
คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.

๒๕๘. สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ.
ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา.
สํ. ส. ๑๕/๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๒๕๙. ปญฺญายตฺถํ วิสฺสติ.
คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๓.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 43

๒๖๐. ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ.
คนย่อมบริสุทธิ์ด้วยปัญญา.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๒๖๑. ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ.
คนฉลาดกล่าวว่าปัญญาแล ประเสริฐสุด.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๕๔๑.

๒๖๒. ปญฺญาชิวีชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ.
ปราชญ์กล่าวชีวิตของผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่า ประเสริฐสุด.
สํ. ส. ๑๕/๕๘, ๓๑๕. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๐.

๒๖๓. เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโญ โย ภาสิตสฺส วิชานาติ อตฺถิ.
ผู้มีปัญญารู้เนื้อความแห่งภาษิตคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๒.

๒๖๔. พหูนํ วต อตฺถาย สปฺปญฺโญ ฆรมาวสํ.
ผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนมาก.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๔๙.

๒๖๕. สากจฺฉาย ปญฺญา เวทิตพฺพา.
ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา.
นัย. ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 44

๒๖๖. ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
ปัญญาย่อมเจริญด้วยประการใด ควรตั้งตนไว้ด้วย
ประการนั้น.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.

๒๖๗. ปญฺญํ นปฺปมชฺเชยฺย.
ไม่ควรประมาทปัญญา.
ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.

๑๔. ปมาทวรรค คือ หมวดประมาท

๒๖๘. ปมาโท มจฺจุโน ปทํ.
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.

๒๖๙. ปมาโท รกฺขโต มลํ.
ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๗๐. ปมาโท ครหิโต สทา.
ความประมาท บัณฑิตติเตียนทุกเมื่อ.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 45

๒๗๑. ปมาทมนุยุญฺชนฺติ พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา.
คนพาลมีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาท.
ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.

๒๗๒. เต ทีฆรตฺตํ โสจนฺติ เย ปมชฺชนฺติ มาณวา.
คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
นัย-ม. อุป. ๑๔/๓๔๖.

๒๗๓. เย ปมตฺตา ยถา มตา.
ผู้ประมาทแล้ว เหมือนคนตายแล้ว.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.

๒๗๔. มา ปมาทมนุยุญฺเชถ.
อย่ามัวประกอบความประมาท.
ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.

๒๗๕. ปมาเทน น สํวเส.
ไม่ควรสมคบด้วยความประมาท.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. สุ. ๒๕/๕๑๘. ขุ. มหา. ๒๙/๕๑๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 46

๑๕. ปาปวรรค คือ หมวดบาป

๒๗๖. มาลา เว ปาปกา ธมฺมา อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.
บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกอื่น.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๗๗. ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.
ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.

๒๗๘. ปาปานํ อกรณํ สุขํ.
การไม่ทำบาป นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๒๗๙. ปาปํ ปาเปน สุกรํ.
ความชั่วอันคนชั่วทำง่าย.
วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๘.

๒๘๐. ปาเป น รมตี สุจิ.
คนสะอาดไม่ยินดีในความชั่ว.
วิ. มหา. ๕/๓๔. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๖.

๒๘๑. สกมฺมุนา หญฺญติ ปาปธมฺโม.
คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน.
ม. ม. ๑๓๔๑๓. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๙.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 47

๒๘๒. ตปสา ปชหนฺติ ปาปกมฺมํ.
สาธุชนย่อมละบาปกรรมด้วยตปะ.
ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/๒๔๕.

๒๘๓. ปาปานิ กมฺมานิ กโรนฺติ โมหา.
คนมักทำบาปกรรมเพราะความหลง.
ม. ม. ๑๓/๔๑๓. ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๘๐.

๒๘๔. นฺตถิ ปาปํ อกุพฺพโต.
บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๑.

๒๘๕. ธมฺมํ เม ภณมานสฺส น ปาปมุปลิมฺปติ.
เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่แปดเปื้อน.
ขุ. ชา. สตฺตก ๒๗/๒๒๔.

๒๘๖. นตฺถิ อการิยํ ปาปํ มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน.
คนมักพูดมุสา จะไม่พึงทำความชั่ว ย่อมไม่มี.
นัย. ขุ. ธ. ๒๕/๓๘. นัย. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๓.

๒๘๗. ปาปานิ ปริวชฺชเย.
พึงละเว้นบาปทั้งหลาย.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๑.

๒๘๘. น ฆาสเหตุปิ กเรยฺย ปาปํ.
ไม่ควรทำบาปเพราะเห็นแก่กิน.
นัย- ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 48

๑๖. ปุคคลวรรค คือ หมวดบุคคล

๒๘๙. สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม.
ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล.
อ. ส. ๑๕/๓๐๙. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๒.

๒๙๐. ปณฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน ชลํ อคฺคีว ภาสติ.
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๒.

๒๙๑. อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็น
ประโยชน์.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๕๙.

๒๙๒. อินฺทฺริยานิ รกฺขนิติ ปณฺฑิตา.
บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์.
ที. มหา. ๑๐/๒๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๗.

๒๙๓. น อุจฺจาวจํ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ.
บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๒๙๔. นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา.
บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษเป็นกำลัง.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๒๗.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 49

๒๙๕. ทุลฺลโภ ปุริสาชญฺโญ.
บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.

๒๙๖. ทุลฺลโภ องฺคสมฺปนฺโน.
ผู้ถึงพร้อมด้วยองคคุณ หาได้ยาก.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๕.

๒๙๗. ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ.
ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๗. ขุ. มหา. ๒๙/๒๙๑. ขุ. จู. ๓๐/๗๔.

๒๙๘. มหาการุณิโก นาโถ.
ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ประกอบด้วยกรุณาใหญ่.

๒๙๙. กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ.
คนฉลาด ย่อมละบาป.
ที. มหา. ๑๐/๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/๒๑๕.

๓๐๐. นยํ นยติ เมธาวี.
คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.

๓๐๑. อธุรายํ น ยุญฺชติ.
คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 50

๓๐๒. ธีโร โภเค อธิคมฺม สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก.
ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ.
ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๒๐๕.

๓๐๓. ธีโร จ พลวา สาธุ ยูถสฺส ปริหารโก.
ปราชญ์มีกำลังบริหารหมู่ ให้ประโยชน์สำเร็จ.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๑.

๓๐๔. น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต.
สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะใคร่กาม.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๓๐๕. สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ.
ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๐.

๓๐๖. สนฺโต สตฺตหิเต รตา.
สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์.
ชาตกฏฺฐกถา ๑/๒๓๐.

๓๐๗. ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต.
สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

๓๐๘. สนฺโต สคฺคปรายนา.
สัตบุรุษ มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
สํ. ส. ๑๕/๒๗. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 51

๓๐๙. สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ.
สัตบุรุษ ย่อมขจรไปทั่วทุกทิศ.
องฺ. ติก. ๒๐/๒๙๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๒.

๓๑๐. อุปสนฺโต สุขํ เสติ.
ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข.
วิ. จุล. ๗/๑๐๖. สํ. ส. ๑๕/๓๑๒. องฺ. ติก. ๒๐/๑๗๕.

๓๑๑. สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ.
กลิ่นของสัตบุรุษ ย่อมไปทวนลมได้.
องฺ. ติก. ๒๐/๒๙๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๒.

๓๑๒. อนุปาทา วิมุจฺจนฺติ.
สาธุชนย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น.
ม. อุป. ๑๔/๓๔๖. องฺ. ติก. ๒๐/๑๘๐.

๓๑๓. โย พาโล มญฺญติ พาลยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส.
คนโง่รู้สึกว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

๓๑๔. น สาธุ พลวา พาโล ยูถสฺส ปริหารโก.
คนโง่มีกำลังบริหารหมู่ ไม่สำเร็จประโยชน์.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๑.

๓๑๕. พาโล อปริณายโก.
คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๙.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 52

๓๑๖. อุชฺฌตฺติพลา พาลา.
คนโง่ มีความเพ่งโทษเป็นกำลัง.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๒๗.

๓๑๗. อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺตึ ขิตฺตา ยถา สรา.
อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

๓๑๘. อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ.
อสัตบุรุษ ย่อมไปนรก.
สํ. ส. ๑๕/๒๗. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๔.

๓๑๙. อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำทางที่ไม่ควรแนะนำ.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.

๓๒๐. อธุรายํ นิยุญฺชติ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๕.

๓๒๑. หาเปติ อตฺถํ ทุมฺเมโธ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๕.

๓๒๒. ทุพฺภึ กโรติ ทุมฺเมโธ.
คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๑.

พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 53

๓๒๓. โจรา โลกสฺมิมพฺพุทา.
พวกโจร เป็นเสนียดในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๓๒๔. สุวิชาโน ภวํ โหติ.
ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

๓๒๕. ทุวิชาโน ปราภโว.
ผู้รู้ชั่ว เป็นผู้เสื่อม.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

๓๒๖. ธมฺมกาโม ภวํ โหติ.
ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

๓๒๗. ธมฺมเทสฺสี ปราภโว.
ผู้ชังธรรม เป็นผู้เสื่อม.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

๓๒๘. สกฺกตฺวา สกฺกโต โหติ.
ผู้ทำสักการะ ย่อมได้รับสักการะ.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.

๓๒๙. ครุ โหติ สคารโว.
ผู้เคารพ ย่อมมีผู้เคารพ.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 54

๓๓๐. ปูชโก ลภเต ปูชํ.
ผู้บูชา ย่อมได้รับบูชา.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.

๓๓๑. วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ.
ผู้ไหว้ ย่อมได้รับไหว้ตอบ.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.

๓๓๒. ปฏิสงฺขานพลา พหุสฺสุตา.
ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๒๗.

๓๓๓. สาธุ สมฺพหุลา ญาตี.
มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๓.

๓๓๔. วิสฺสาสปรมา ญาตี.
ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๓๓๕. เนกาสี ลภเต สุขํ.
ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๓.

๓๓๖. นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต.
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 55

๓๓๗. ปริภูโต มุทุ โหติ.
คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.

๓๓๘. อติติกฺโข จ เวรวา.
คนแข็งกระด้าง ก็มีเวร.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๒/๓๓๙.

๓๓๙. พหุมฺปิ รตฺโต ภาเสยฺย.
คนรักแล้ว มักพูดมาก.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.

๓๔๐. ทุฏฺโฐปิ พหุ ภาสยิ.
คนโกรธแล้ว มักพูดมาก.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.

๓๔๑. อนุปาเยน โย อตฺถํ อิจฺฉติ โส วิหญฺญติ.
ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบาก.

๓๔๒. น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ.
คนตรง ไม่พูดคลาดความจริง.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๒๘.

๓๔๓. ยถาวาที ตถาการี.
พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น.
ที. มหา. ๑๐/๒๕๕. ขุ. สุ. ๒๕/๓๙๔. ขุ. เถร. ๒๖/๔๔๑. ขุ. ชา. จตุตฺก. ๒๗/๑๔๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 56

๓๔๔. หิรินิเสโธ ปุริโส โกจิ โลกสฺมิ วิชฺชติ.
มีบางคนในโลกที่ยับยั้งด้วยความอาย.
สํ. ส. ๑๕/๑๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.

๓๔๕. กวิ คาถานมาสโย.
กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๒.

๓๔๖. พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม (ของบุตร).
องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.

๓๔๗. ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นบุรพาจารย์ (ของบุตร).
องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.

๓๔๘. อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ.
มารดาบิดา เป็นที่นับถือของบุตร.
องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.

๓๔๙. อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส.
สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์.
สํ. ส. ๑๕/๕๒, ๕๙.

๓๕๐. อิตฺถี ภณฺฑานมุตฺตมํ.
สตรีเป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 57

๓๕๑. ภตฺตญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชนฺติ ปณฺฑิตา.
ภริยาผู้ฉลาด ย่อมนับถือสามีและคนควรเคารพทั้งปวง.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๗๓.

๓๕๒. ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา.
สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี.
สํ. ส. ๑๕/๕๗.

๓๕๓. สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ.
บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
สํ. ส. ๑๕/๑๐.

๓๕๔. โย จ ปุตฺตานมสฺสโว.
บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
สํ. ส. ๑๕/๑๐.

๓๕๕. ปุตฺตา วตฺถุ มนุสฺสานํ.
บุตรทั้งหลายเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๑.

๓๕๖. ผาตึ กยิรา อวิเหฐยํ ปรํ.
ควรทำแต่ความเจริญ. อย่าเบียดเบียนเขา.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๑๒.

๓๕๗. คุณวา จาตฺตโน คุณํ.
ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้.
ส. ส.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 58

๓๕๘. รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ.
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๓๖.

๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ

๓๕๙. ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ.
บุญอันโจรนำไปไม่ได้.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๓๖๐. ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ.
บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๓๖๑. สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.
ความสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.

๓๖๒. ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ.
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า.
สํ. ส. ๑๕/๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๔. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๔.

๓๖๓. ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ.
ควรทำบุญอันนำสุขมาให้.
สํ. ส. ๑๕/๓. องฺ. ติก. ๒๐/๑๙๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 59

๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู

๓๖๔. สพฺพํ เภทปริยนฺตํ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ.
ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลาย
เป็นที่สุด.
ที. มหา. ๑๐/๑๔๑. ขุ. สุ. ๒๕/๔๔๘. ขุ. มหา. ๒๙/๑๔๕.

๓๖๕. อปฺปกญฺจิทํ ชีวิตมาหุ ธีรา.
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. สุ. ๒๕/๔๘๕. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๖๖. น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา.
ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย.
ม. อุ. ๑๔/๓๔๘. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๖๕.

๓๖๗. ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา.
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน.
สํ. ส. ๑๕/๓. องฺ. ติก. ๒๐/๑๙๘. ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๑๖.

๓๖๘. น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา.
เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๖๙. น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ.
ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 60

๓๗๐. น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ.
กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๗๑. น ทีฆมายุํ ลภเต ธเนน.
คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๗๒. สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ.
สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก.
ท. มหา. ๑๐/๑๘๑. สํ. ส. ๑๕/๒๓๒.

๓๗๓. อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา.
ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า.
ที. มหา. ๑๐/๑๔๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑๗.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 61

๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร

๓๗๔. สตฺโถ ปวสโต มิตฺตํ.
หมู่เกวียน (หรือต่าง) เป็นมิตรของคนเดินทาง.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๓๗๕. มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร.
มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๓๗๖. สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ.
สหาย เป็นมิตรของคนมีความต้องการเกิดขึ้นเนือง ๆ.
สํ. ส. ๑๕/๕๑.

๓๗๗. สพฺพตฺถ ปูชิโต โหติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ.
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง.
ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๕๔.

๓๗๘. สพฺเพ อมิตฺเต ตรติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ.
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมผ่านพ้นศัตรูทั้งปวง.
ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๑๕๕.

๓๗๙. มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก.
ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวแท้.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๗.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 62

๓๘๐. ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร.
มีมิตรเลวมีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและที่เที่ยวเลว.

๑๙๘.

๓๘๑. ภริยา ปรมา สขา.
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท.
สํ. ส. ๑๕/๕๑.

๓๘๒. นตฺถิ พาเล สหายตา.
ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุ. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓, ๕๙.

๓๘๓. อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา.
เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๓๘๔. สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา.
ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗.

๓๘๕. โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ เอโก จเร น จ ปาปานิ กริยา.
ถ้าไม่ได้สหายผู้รอบคอบ พึงเที่ยวไปคนเดี

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 63

๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ

๓๘๖. น เว ยาจนฺติ สปฺปญฺญา.
ผู้มีปัญญาย่อมไม่ขอเลย.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๐.

๓๘๗. ยาจโก อปฺปิโย โหติ.
ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รัก (ของผู้ถูกขอ).
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๗๗. ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๐.

๓๘๘. ยาจํ อททมปฺปิโย.
ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้สิ่งที่เขาขอ ย่อมไม่เป็นที่รัก (ของผู้ขอ).
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๗. ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๙/๒๒๐.

๓๘๙. เทสฺโส จ โหติ อติยาจนาย.
คนย่อมเป็นที่เกลียดชังเพราะขอจัด.
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๔. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๐.

๓๙๐. น ตํ ยาเจ ยสฺส ปิยํ ชิคึเส.
ไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา.
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๔. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๐.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 64

๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา

๓๕๑. ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ.
พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น.
สํ. ส. ๑๕/๕๗.

๓๕๒. ราชา มุขํ มนุสฺสานํ.
พระราชา เป็นประมุขของประชาชน.
วิ. มหา. ๕/๑๒๔. ม. ม. ๑๓/๕๕๖. ขุ. ส. ๒๕/๔๔๖.

๓๙๓. สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหติ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก.
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข.
องฺ. จตุตก. ๒๑/๙๙. ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๕๒.

๓๙๔. กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต.
พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๘๗.

๓๙๕. สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ.
พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบ ย่อมสง่า.
สํ. นิ. ๑๖/๓๓๑. ขุ. ธ. ๒๕/๖๗.

๓๙๖. ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมึ เย โคตฺตปฏิสาริโน.
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจ
ด้วยสกุล.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๐๗. ม. ม. ๑๓/๓๒. สํ. ส. ๑๕/๒๒๕. สํ. นิ. ๑๖/๓๓๑.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 65

๓๙๗. ปุตฺตกํ วิย ราชาโน ปชํ รกฺขนตุ สพฺพทา.
พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์ ให้เหมือนบิดารักษาบุตร
ทุกเมื่อ.
นัย-ส. ส.

๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา

๓๙๘. หทยสฺส สทิสี วาจา.
วาจาเช่นเดียวกับใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๓๘.

๓๙๙. โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ.
เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๐๐. มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.
คนเปล่งวาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๐๑. ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา.
คนโกรธมีวาจาหยาบ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๓.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 66

๔๐๒. อภูตวาที นิรยํ อุเปติ.
คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

๔๐๓. สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ.
ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ.
นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

๔๐๔. วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ.
ควรเปล่งวาจางาม.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๔๐๕. สณฺหํ คิรํ อตฺถวตึ ปมุญฺเจ.
ควรเปล่งวาจาไพเราะที่มีประโยชน์.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๐.

๔๐๖. ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย.
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๑.

๔๐๗. มนุญฺญเมว ภาเสยฺย.
ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๐.

๔๐๘. นามนุญฺญํ กุทาจนํ.
ในกาลไหน ๆ ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๐.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 67

๔๐๙. วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ.
ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินกาล.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๐. ขุ. สุ. ๒๕/๕๒๓. ขุ. มหา. ๒๙/๖๒๒.

๔๑๐. น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ.
ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย.
ขุ. ชา. ๒๗/๒๘.

๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร

๔๑๑. กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ.
คนขยัน ย่อมไม่พร่าประโยชน์ซึ่งถึงตามกาล.
ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๑๙๕.

๔๑๒. วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ.
คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๔๑๓. ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ.
คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้.
สํ. ส. ๑๕/๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๔๑๔. อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺตึ.
คนไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 68

๔๑๕. น นิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย.
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓.

๔๑๖. อนิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย.
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓.

๔๑๗. อถ ปจฺฉา กุรุเต โยคํ กิจฺเจ อาวาสุ สีทติ.
ถ้าทำความเพียรในกิจการล้าหลัง จะจมอยู่ในวิบัติ.
ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๓๔.

๔๑๘. หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ.
คนที่ผัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม.
ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๖๖.

๔๑๙. อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ.
ควรรีบทำความเพียรในวันนี้.
ม. อุป. ๑๔/๓๔๘. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๖๕.

๔๒๐. วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา.
บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์.
สํ. ส. ๑๕/๓๓๐.

๔๒๑. กเรยฺย โยคฺคํ ธุวมปฺปมตฺโต.
ผู้ไม่ประมาท ควรทำความเพียรให้แน่วแน่.
นัย-ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๗๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 69

๔๒๒. ยถา ยถา ยตฺถ ลเภถ อตฺถํ ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺย.
พึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วยประการใดๆ ควรบากบั่นในที่
นั้น ด้วยประการนั้น ๆ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๗๐. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๐.

๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร

๔๒๓. เย เวรํ อุปนยฺหนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ.
เวรของผู้จองเวร ย่อมไม่ระงับ.
นัย-ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. นัย-ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. นัย-ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

๔๒๔. เย เวรํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ.
เวรของผู้ไม่จองเวร ย่อมระงับได้.
นัย-ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. นัย-ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. นัย-ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

๔๒๕. อเวเรน จ สมฺมนฺติ.
เวรย่อมระงับด้วยไม่มีเวร.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

. น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ.
ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมระงับด้วยเวรไม่ได้เลย.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 70

๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์

๔๒๗. สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ.
ความสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๘. ขุ. ชา. ๒๕/๓๖๐.

๔๒๘. สจฺจํ เว อมตา วาจา.
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๘. ขุ. เถร. ๒๖/๔๓๔.

๔๒๙. สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ.
คนได้เกียรติ (ชื่อเสียง) เพราะความสัตย์.
สํ. ส. ๑๕/๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๔๓๐. สจฺเจน อตฺเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา.
สัตบุรุษได้ตั้งมั่นในความสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๔๓๔.

๔๓๑. สจฺจมนุรกฺเขยฺย.
พึงตามรักษาความสัตย์.
ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 71

๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ

๔๓๒. สติ โลกสฺมิ ชาคโร.
สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๔๓๓. สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา.
สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง.
ว. ว.

๔๓๔. สติมโต สทา ภทฺทํ.
คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ.
สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.

๔๓๕. สติมา สุขเมธติ.
คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข.
สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.

๔๓๖. สติมโต สุเว เสยฺโย.
คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน.
สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.

๔๓๗. รกฺขมาโน สโต รกฺเข.
ผู้รักษา ควรมีสติรักษา.
ส. ส.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 72

๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา

๔๓๘. สทฺธา พนฺธติ ปาเถยฺยํ.
ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียง (คือกุศล).
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๔๓๙. สทฺธา สาธุ ปติฏฺฐิตา.
ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๔๔๐. สุขา สทฺธา ปติฏฺฐิตา.
ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๔๔๑. สทฺธีธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺฐํ.
ศรัทธาเป็นทรัพย์ประเสริฐของคนในโลกนี้.
สํ. สํ. ๑๕/๕๘. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๐.

๔๔๒. สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ.
ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน.
สํ. ส. ๑๕/๓๕, ๕๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 73

๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ

๔๔๓. สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ.
ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๔๔. ตุฏฺฐี สุขา อิตรีตเรน.
ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๔๔๕. สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺส สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต.
ความสงัดของผู้สันโดษ มีธรรมปรากฏ เห็นอยู่ นำสุขมาให้.
วิ. มหา. ๔/๖. ขุ. อุ. ๒๕/๘๖.

๔๔๖. ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺฐพฺพํ.
ได้สิ่งใด พอใจด้วยสิ่งนั้น.
วิ. ภิ. ๓/๙๖. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๔.

๔๔๗. สลาภํ นาติมญฺเญยฺย.
ไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 74

๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ

๔๔๘. สมณีธ อรณา โลเก.
สมณะในศาสนานี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๔๔๙. น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต.
บรรพชิตฆ่าผู้อื่นเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นสมณะเลย.
ที. มหา. ๑๐/๕๗. ขุ. ธ. ๒๕/๔๐.

๔๕๐. อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ.
บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่ดี.
ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๔๖.

๔๕๑. อเปโต ทมสจฺเจน น โส กาสาวมรหติ.
ผู้ปราศจากทมะและสัจจะ ไม่ควรครองผ้ากาสาวะ.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๖. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๓. ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๐.

๔๕๒. อุเปโต ทมสจฺเจน ส เว กาสาวมรหติ.
ผู้ประกอบด้วยทมะและสัจจะนั้นแล ควรครองผ้ากาสาวะ.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๖. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๓. ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๐.

๔๕๓. สุภาสิตทฺธชา อิสโย.
ฤษีทั้งหลาย มีสุภาษิตเป็นธงชัย.
สํ. นิ. ๑๖/๓๒๖. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๖๖. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๕๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 75

๔๕๔. สมโณ อสฺส สุสฺสมโณ.
สมณะ พึงเป็นสมณะที่ดี.
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๒๙๘.

๔๕๕. สามญฺเญ สมโณ ติฏฺเฐ.
สมณะ พึงตั้งอยู่ในภาวะแห่งสมณะ.
ส. ส.

๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี

๔๕๖. สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี.
ความพร้อมเพรียงของหมู่ ให้เกิดสุข.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๓๘. องฺ. ทสก. ๒๔/๘๐.

๔๕๗. สมคฺคานํ ตโป สุโข.
ความเพียรของผู้พร้อมเพรียงกัน ให้เกิดสุข.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.

๔๕๘. สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา.
ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ.
ส. ส.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 76

๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล

๔๕๙. สีลํ ยาว ชรา สาธุ.
ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๔๖๐. สุขํ ยาว ชรา สีลํ.
ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๔๖๑. สีลํ กิเรว กลฺยาณํ.
ท่านว่าศีลนั่นเทียว เป็นความดี.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๖๒. สีลํ โลเก อนุตฺตรํ.
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๖๓. สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ.
ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน.
นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

๔๖๔. สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร.
ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี.
สํ. ส. ๑๕/๑๐๖. ขุ. ธ. ๒๕/๖๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 77

๔๖๕. สญฺญมโต เวรํ น จียติ.
เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น.
ที. มหา. ๑๐/๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/๒๑๕.

๔๖๖. สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี.
ปราชญ์พึงรักษาศีล.
ขุ. อิติ. ๒๕/๒๘๒.

๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข

๔๖๗. สพฺพตฺถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ.
ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๔๖๘. อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก.
ความไม่เบียดเบียน เป็นสุขในโลก.
วิ. มหา. ๔/๖. ขุ. อุ. ๒๕/๘๖.

๔๖๙. เตสํ วูปสโม สุโข.
ความสงบระงับแห่งสังขารนั้น เป็นสุข.
สํ. ส. ๑๕/๘. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑.

๔๗๐. นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ.
ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 78

๔๗๑. นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.
ม. ม. ๑๓/๒๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๗๒. สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท.
ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.

๔๗๓. สุขา สทฺธมฺมเทสนา.
การแสดงสัทธรรม นำความสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.

๔๗๔. อทสฺสเนน พาลานํ นิจฺจเมว สุขี สิยา.
จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๗๕. สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ เยน เมตฺตา สุภาวิตา.
ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว ย่อมหลับและตื่นเป็นสุข.
ว. ว.

๔๗๖. น เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา สุขาวหา.
การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุข
มาให้เลย.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 79

๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา

๔๗๗. วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ.
เพราะความไว้ใจ ภัยจึงตามมา.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๔๗๘. อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย.
เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักก็มักหน่าย.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๔๗.

๔๗๙. ยํ เว เสวติ ตาทิโส.
คบคนใด ก็เป็นเช่นคนนั้นแล.
ว. ว.

๔๘๐. เอกรตฺตํ ทฺวิรตฺตํ วา ทุกฺขํ วสติ เวริสุ.
อยู่ในพวกไพรีคืนเดียวหรือสองคืน ก็เป็นทุกข์.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๔.

๔๘๑. ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิตฺเตเนว สพฺพทา.
อยู่ร่วมกับพวกพาล นำทุกข์มาให้เสมอไปเหมือนอยู่ร่วมกับ
ศัตรู.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๘๒. ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม.
อยู่ร่วมกับปราชญ์ นำสุขมาให้เหมือนสมาคมกับญาติ.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 80

๔๘๓. สุโข หเว สปฺปุริเสน สงฺคโม.
สมาคมกับสัตบุรุษ นำสุขมาให้.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๕.

๔๘๔. นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี.
ผู้คบคนเลว ย่อมเลวลง.
องฺ. ติก. ๒๐/๑๕๘.

๔๘๕. ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม.
สมาคมกับคนพาล นำทุกข์มาให้.
ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๕.

๔๘๖. น สงฺคโม ปาปชเนน เสยฺโย.
สมาคมกับคนชั่ว ไม่ดีเลย.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๑.

๔๘๗. ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม.
การสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ.
ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๕.

๔๘๘. น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ.
ผู้ไม่คบหาคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๖.

๔๘๙. พาลสงฺคตจารี หิ ทีฆมทฺธาน โสจติ.
ผู้เที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 81

๔๙๐. ยตฺถ เวรี นิวีสติ น วเส ตตฺถ ปณฺฑิโต.
ไพรีอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่ในที่นั้น.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๔.

๔๙๑. สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส.
ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๗.

๔๙๒. น วิสฺสเส อวิสฺสฏฺฐ วิสฺสฏฺเฐปิ น วิสฺสเส.
ไม่ควรไว้ใจในคนไม่คุ้นเคย แม้ในคนคุ้นเคย ก็ไม่ควรไว้ใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๔๙๓. อนตฺถา เยว วฑฺฒนฺติ พาลํ ปจฺจูปเสวโต.
เมื่อคบหาคนพาล ย่อมมีแต่ความฉิบหาย.
นัย. ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๕.

๔๙๔. นาสฺมเส กตปาปมฺหิ.
ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.

๔๙๕. นาสฺมเส อลิกวาทิเน.
ไม่ควรไว้ใจคนพูดพล่อย ๆ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.

๔๙๖. นาสฺมเส อตฺตตฺถปญฺญมหิ.
ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 82

 ๔๙๗. อติสนฺเตปิ นาสฺมเส.
ไม่ควรไว้ใจคนที่แสร้งทำสงบเสงี่ยม.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.

๔๙๘. อเปตจิตฺเตน น สมฺภเชยฺย.
ไม่ควรคบกับคนสิ้นคิด.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๔.

๔๙๙. น สนฺถวํ กาปุริเสน กยิรา.
ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๕.

๕๐๐. มาสฺสุ พาเลน สงฺคจฺฉิ อมิตฺเตเนว สพฺพทา.
อย่าสมาคมกับคนพาลซึ่งเป็นดังศัตรูทุกเมื่อ.
ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๕.

คลังบทความของบล็อก