หน้าเว็บ

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 63

๒๐. ยาจนาวรรค คือ หมวดขอ

๓๘๖. น เว ยาจนฺติ สปฺปญฺญา.
ผู้มีปัญญาย่อมไม่ขอเลย.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๐.

๓๘๗. ยาจโก อปฺปิโย โหติ.
ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รัก (ของผู้ถูกขอ).
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๗๗. ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๒๐.

๓๘๘. ยาจํ อททมปฺปิโย.
ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้สิ่งที่เขาขอ ย่อมไม่เป็นที่รัก (ของผู้ขอ).
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๗. ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๙/๒๒๐.

๓๘๙. เทสฺโส จ โหติ อติยาจนาย.
คนย่อมเป็นที่เกลียดชังเพราะขอจัด.
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๔. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๐.

๓๙๐. น ตํ ยาเจ ยสฺส ปิยํ ชิคึเส.
ไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา.
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๓๓๔. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๐.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 64

๒๑. ราชวรรค คือ หมวดพระราชา

๓๕๑. ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ.
พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น.
สํ. ส. ๑๕/๕๗.

๓๕๒. ราชา มุขํ มนุสฺสานํ.
พระราชา เป็นประมุขของประชาชน.
วิ. มหา. ๕/๑๒๔. ม. ม. ๑๓/๕๕๖. ขุ. ส. ๒๕/๔๔๖.

๓๙๓. สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหติ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก.
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข.
องฺ. จตุตก. ๒๑/๙๙. ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๕๒.

๓๙๔. กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต.
พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๘๗.

๓๙๕. สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ.
พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบ ย่อมสง่า.
สํ. นิ. ๑๖/๓๓๑. ขุ. ธ. ๒๕/๖๗.

๓๙๖. ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมึ เย โคตฺตปฏิสาริโน.
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจ
ด้วยสกุล.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๐๗. ม. ม. ๑๓/๓๒. สํ. ส. ๑๕/๒๒๕. สํ. นิ. ๑๖/๓๓๑.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 65

๓๙๗. ปุตฺตกํ วิย ราชาโน ปชํ รกฺขนตุ สพฺพทา.
พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์ ให้เหมือนบิดารักษาบุตร
ทุกเมื่อ.
นัย-ส. ส.

๒๒. วาจาวรรค คือ หมวดวาจา

๓๙๘. หทยสฺส สทิสี วาจา.
วาจาเช่นเดียวกับใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๓๘.

๓๙๙. โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ.
เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๐๐. มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ.
คนเปล่งวาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๐๑. ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา.
คนโกรธมีวาจาหยาบ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๓.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 66

๔๐๒. อภูตวาที นิรยํ อุเปติ.
คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

๔๐๓. สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ.
ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ.
นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

๔๐๔. วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ.
ควรเปล่งวาจางาม.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๔๐๕. สณฺหํ คิรํ อตฺถวตึ ปมุญฺเจ.
ควรเปล่งวาจาไพเราะที่มีประโยชน์.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๕๐.

๔๐๖. ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย.
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๑.

๔๐๗. มนุญฺญเมว ภาเสยฺย.
ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๐.

๔๐๘. นามนุญฺญํ กุทาจนํ.
ในกาลไหน ๆ ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๐.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 67

๔๐๙. วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ.
ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี ให้เกินกาล.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๐. ขุ. สุ. ๒๕/๕๒๓. ขุ. มหา. ๒๙/๖๒๒.

๔๑๐. น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ.
ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย.
ขุ. ชา. ๒๗/๒๘.

๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร

๔๑๑. กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ.
คนขยัน ย่อมไม่พร่าประโยชน์ซึ่งถึงตามกาล.
ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๑๙๕.

๔๑๒. วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ.
คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๔๑๓. ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ.
คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้.
สํ. ส. ๑๕/๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๔๑๔. อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺตึ.
คนไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 68

๔๑๕. น นิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย.
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓.

๔๑๖. อนิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย.
ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓.

๔๑๗. อถ ปจฺฉา กุรุเต โยคํ กิจฺเจ อาวาสุ สีทติ.
ถ้าทำความเพียรในกิจการล้าหลัง จะจมอยู่ในวิบัติ.
ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๓๔.

๔๑๘. หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ.
คนที่ผัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม.
ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๖๖.

๔๑๙. อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ.
ควรรีบทำความเพียรในวันนี้.
ม. อุป. ๑๔/๓๔๘. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๖๕.

๔๒๐. วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา.
บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์.
สํ. ส. ๑๕/๓๓๐.

๔๒๑. กเรยฺย โยคฺคํ ธุวมปฺปมตฺโต.
ผู้ไม่ประมาท ควรทำความเพียรให้แน่วแน่.
นัย-ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๗๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 69

๔๒๒. ยถา ยถา ยตฺถ ลเภถ อตฺถํ ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺย.
พึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วยประการใดๆ ควรบากบั่นในที่
นั้น ด้วยประการนั้น ๆ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๗๐. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๐.

๒๔. เวรวรรค คือ หมวดเวร

๔๒๓. เย เวรํ อุปนยฺหนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ.
เวรของผู้จองเวร ย่อมไม่ระงับ.
นัย-ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. นัย-ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. นัย-ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

๔๒๔. เย เวรํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ.
เวรของผู้ไม่จองเวร ย่อมระงับได้.
นัย-ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. นัย-ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. นัย-ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

๔๒๕. อเวเรน จ สมฺมนฺติ.
เวรย่อมระงับด้วยไม่มีเวร.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

. น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ.
ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมระงับด้วยเวรไม่ได้เลย.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๑๕. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 70

๒๕. สัจจวรรค คือ หมวดความสัตย์

๔๒๗. สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ.
ความสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๘. ขุ. ชา. ๒๕/๓๖๐.

๔๒๘. สจฺจํ เว อมตา วาจา.
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๘. ขุ. เถร. ๒๖/๔๓๔.

๔๒๙. สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ.
คนได้เกียรติ (ชื่อเสียง) เพราะความสัตย์.
สํ. ส. ๑๕/๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๔๓๐. สจฺเจน อตฺเถ จ ธมฺเม จ อหุ สนฺโต ปติฏฺฐิตา.
สัตบุรุษได้ตั้งมั่นในความสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๔๓๔.

๔๓๑. สจฺจมนุรกฺเขยฺย.
พึงตามรักษาความสัตย์.
ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 71

๒๖. สติวรรค คือ หมวดสติ

๔๓๒. สติ โลกสฺมิ ชาคโร.
สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๔๓๓. สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา.
สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง.
ว. ว.

๔๓๔. สติมโต สทา ภทฺทํ.
คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ.
สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.

๔๓๕. สติมา สุขเมธติ.
คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข.
สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.

๔๓๖. สติมโต สุเว เสยฺโย.
คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน.
สํ. ส. ๑๕/๓๐๖.

๔๓๗. รกฺขมาโน สโต รกฺเข.
ผู้รักษา ควรมีสติรักษา.
ส. ส.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 72

๒๗. สัทธาวรรค คือ หมวดศรัทธา

๔๓๘. สทฺธา พนฺธติ ปาเถยฺยํ.
ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียง (คือกุศล).
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๔๓๙. สทฺธา สาธุ ปติฏฺฐิตา.
ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๔๔๐. สุขา สทฺธา ปติฏฺฐิตา.
ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๔๔๑. สทฺธีธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฺฐํ.
ศรัทธาเป็นทรัพย์ประเสริฐของคนในโลกนี้.
สํ. สํ. ๑๕/๕๘. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๐.

๔๔๒. สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ.
ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน.
สํ. ส. ๑๕/๓๕, ๕๒.