หน้าเว็บ

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 73

๒๘. สันตุฏฐิวรรค คือ หมวดสันโดษ

๔๔๓. สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ.
ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๔๔. ตุฏฺฐี สุขา อิตรีตเรน.
ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๔๔๕. สุโข วิเวโก ตุฏฺฐสฺส สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต.
ความสงัดของผู้สันโดษ มีธรรมปรากฏ เห็นอยู่ นำสุขมาให้.
วิ. มหา. ๔/๖. ขุ. อุ. ๒๕/๘๖.

๔๔๖. ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺฐพฺพํ.
ได้สิ่งใด พอใจด้วยสิ่งนั้น.
วิ. ภิ. ๓/๙๖. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๔.

๔๔๗. สลาภํ นาติมญฺเญยฺย.
ไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 74

๒๙. สมณวรรค คือ หมวดสมณะ

๔๔๘. สมณีธ อรณา โลเก.
สมณะในศาสนานี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๔๔๙. น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต.
บรรพชิตฆ่าผู้อื่นเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นสมณะเลย.
ที. มหา. ๑๐/๕๗. ขุ. ธ. ๒๕/๔๐.

๔๕๐. อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ.
บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่ดี.
ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๔๖.

๔๕๑. อเปโต ทมสจฺเจน น โส กาสาวมรหติ.
ผู้ปราศจากทมะและสัจจะ ไม่ควรครองผ้ากาสาวะ.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๖. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๓. ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๐.

๔๕๒. อุเปโต ทมสจฺเจน ส เว กาสาวมรหติ.
ผู้ประกอบด้วยทมะและสัจจะนั้นแล ควรครองผ้ากาสาวะ.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๖. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๓. ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๐.

๔๕๓. สุภาสิตทฺธชา อิสโย.
ฤษีทั้งหลาย มีสุภาษิตเป็นธงชัย.
สํ. นิ. ๑๖/๓๒๖. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๖๖. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๕๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 75

๔๕๔. สมโณ อสฺส สุสฺสมโณ.
สมณะ พึงเป็นสมณะที่ดี.
วิ. มหาวิภงฺค. ๑/๒๙๘.

๔๕๕. สามญฺเญ สมโณ ติฏฺเฐ.
สมณะ พึงตั้งอยู่ในภาวะแห่งสมณะ.
ส. ส.

๓๐. สามัคคีวรรค คือ หมวดสามัคคี

๔๕๖. สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี.
ความพร้อมเพรียงของหมู่ ให้เกิดสุข.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๓๘. องฺ. ทสก. ๒๔/๘๐.

๔๕๗. สมคฺคานํ ตโป สุโข.
ความเพียรของผู้พร้อมเพรียงกัน ให้เกิดสุข.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.

๔๕๘. สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา.
ความพร้อมเพรียงของปวงชนผู้เป็นหมู่ ยังความเจริญให้สำเร็จ.
ส. ส.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 76

๓๑. สีลวรรค คือ หมวดศีล

๔๕๙. สีลํ ยาว ชรา สาธุ.
ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๔๖๐. สุขํ ยาว ชรา สีลํ.
ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๔๖๑. สีลํ กิเรว กลฺยาณํ.
ท่านว่าศีลนั่นเทียว เป็นความดี.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๖๒. สีลํ โลเก อนุตฺตรํ.
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๘.

๔๖๓. สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ.
ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน.
นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

๔๖๔. สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร.
ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี.
สํ. ส. ๑๕/๑๐๖. ขุ. ธ. ๒๕/๖๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 77

๔๖๕. สญฺญมโต เวรํ น จียติ.
เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น.
ที. มหา. ๑๐/๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/๒๑๕.

๔๖๖. สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี.
ปราชญ์พึงรักษาศีล.
ขุ. อิติ. ๒๕/๒๘๒.

๓๒. สุขวรรค คือ หมวดสุข

๔๖๗. สพฺพตฺถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ.
ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๔๖๘. อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก.
ความไม่เบียดเบียน เป็นสุขในโลก.
วิ. มหา. ๔/๖. ขุ. อุ. ๒๕/๘๖.

๔๖๙. เตสํ วูปสโม สุโข.
ความสงบระงับแห่งสังขารนั้น เป็นสุข.
สํ. ส. ๑๕/๘. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑.

๔๗๐. นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ.
ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 78

๔๗๑. นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.
ม. ม. ๑๓/๒๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๗๒. สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท.
ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.

๔๗๓. สุขา สทฺธมฺมเทสนา.
การแสดงสัทธรรม นำความสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๑.

๔๗๔. อทสฺสเนน พาลานํ นิจฺจเมว สุขี สิยา.
จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๗๕. สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ เยน เมตฺตา สุภาวิตา.
ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว ย่อมหลับและตื่นเป็นสุข.
ว. ว.

๔๗๖. น เว อนตฺถกุสเลน อตฺถจริยา สุขาวหา.
การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุข
มาให้เลย.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 79

๓๓. เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา

๔๗๗. วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ.
เพราะความไว้ใจ ภัยจึงตามมา.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๔๗๘. อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย.
เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักก็มักหน่าย.
ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๔๗.

๔๗๙. ยํ เว เสวติ ตาทิโส.
คบคนใด ก็เป็นเช่นคนนั้นแล.
ว. ว.

๔๘๐. เอกรตฺตํ ทฺวิรตฺตํ วา ทุกฺขํ วสติ เวริสุ.
อยู่ในพวกไพรีคืนเดียวหรือสองคืน ก็เป็นทุกข์.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๔.

๔๘๑. ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิตฺเตเนว สพฺพทา.
อยู่ร่วมกับพวกพาล นำทุกข์มาให้เสมอไปเหมือนอยู่ร่วมกับ
ศัตรู.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๔๘๒. ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม.
อยู่ร่วมกับปราชญ์ นำสุขมาให้เหมือนสมาคมกับญาติ.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 80

๔๘๓. สุโข หเว สปฺปุริเสน สงฺคโม.
สมาคมกับสัตบุรุษ นำสุขมาให้.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๕.

๔๘๔. นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี.
ผู้คบคนเลว ย่อมเลวลง.
องฺ. ติก. ๒๐/๑๕๘.

๔๘๕. ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม.
สมาคมกับคนพาล นำทุกข์มาให้.
ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๕.

๔๘๖. น สงฺคโม ปาปชเนน เสยฺโย.
สมาคมกับคนชั่ว ไม่ดีเลย.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๑.

๔๘๗. ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม.
การสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ.
ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๕.

๔๘๘. น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ.
ผู้ไม่คบหาคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๖.

๔๘๙. พาลสงฺคตจารี หิ ทีฆมทฺธาน โสจติ.
ผู้เที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 81

๔๙๐. ยตฺถ เวรี นิวีสติ น วเส ตตฺถ ปณฺฑิโต.
ไพรีอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่ในที่นั้น.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๔.

๔๙๑. สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส.
ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๗.

๔๙๒. น วิสฺสเส อวิสฺสฏฺฐ วิสฺสฏฺเฐปิ น วิสฺสเส.
ไม่ควรไว้ใจในคนไม่คุ้นเคย แม้ในคนคุ้นเคย ก็ไม่ควรไว้ใจ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๔๙๓. อนตฺถา เยว วฑฺฒนฺติ พาลํ ปจฺจูปเสวโต.
เมื่อคบหาคนพาล ย่อมมีแต่ความฉิบหาย.
นัย. ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๕.

๔๙๔. นาสฺมเส กตปาปมฺหิ.
ไม่ควรไว้ใจคนทำบาป.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.

๔๙๕. นาสฺมเส อลิกวาทิเน.
ไม่ควรไว้ใจคนพูดพล่อย ๆ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.

๔๙๖. นาสฺมเส อตฺตตฺถปญฺญมหิ.
ไม่ควรไว้ใจคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 82

 ๔๙๗. อติสนฺเตปิ นาสฺมเส.
ไม่ควรไว้ใจคนที่แสร้งทำสงบเสงี่ยม.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๐.

๔๙๘. อเปตจิตฺเตน น สมฺภเชยฺย.
ไม่ควรคบกับคนสิ้นคิด.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๔.

๔๙๙. น สนฺถวํ กาปุริเสน กยิรา.
ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๕.

๕๐๐. มาสฺสุ พาเลน สงฺคจฺฉิ อมิตฺเตเนว สพฺพทา.
อย่าสมาคมกับคนพาลซึ่งเป็นดังศัตรูทุกเมื่อ.
ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๖๕.