คำชี้แจง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราช-
เจ้า ทรงตั้งกรรมการตรวจชำระแบบเรียนขึ้นคณะหนึ่ง และพระมหา
ทองสืบ ป. ๘ วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นกรรมการ ผู้เรียบเรียงร่าง
พุทธศาสนสุภาษิตนี้ เมื่อคณะกรรมการตรวจชำระแล้ว จึงให้พิมพ์เป็น
พุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๑ สำหรับใช้เป็นหลักสูตรนักธรรมสืบไป.
ในการตรวจชำระพุทธศาสนสุภาษิตนี้ มีข้อควรชี้แจง ดังนี้
๑. อาศัยคำนำในพุทธศาสนสุภาษิตฉบับเดิมว่า " มีเวลาทำ
น้อย ระเบียบที่จัดไม่เรียบร้อยไปโดยตลอด " ดังนี้ ภายหลังจึงได้
แก้ไขเปลี่ยนแปลงต่อมาหลายครั้ง เช่นการแยกหมวดธรรม แก้คำแปล
และเพิ่มใหม่เป็นต้น คราวนี้ได้แก้รูปปรับปรุงใหม่ เพื่อให้ยุตติเป็น
พุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๑.
๒. พุทธศาสนสุภาษิตเล่มแรกมี ๒๔๙ ข้อ พิมพ์ครั้งที่ ๘/๒๔๖๖
เพิ่มขึ้น ๓๗ ข้อ ครั้งที่ ๑๐/๒๔๖๗ เพิ่มขึ้น ๒๔๙ ข้อ และครั้งที่
๑๓/๒๔๗๒ เพิ่มขึ้น ๘๖ ข้อ รวมเพิ่มใหม่ ๓๗๒ ข้อ รวมทั้งสิ้นมี
๖๒๑ ข้อ ส่วนในการตรวจชำระครั้งนี้ (ที่ ๑๔/๒๔๗๗) ได้ตัดที่เฝือ
ออกเสีย ๑๖๐ ข้อ แต่เพิ่มใหม่อีก ๓๙ ข้อ จึงยุตติเป็นพุทธศาสนสุภาษิต
เล่ม ๑ มีสุภาษิต ๕๐๐ ข้อ.
๓. พุทธศาสนสุภาษิตนี้ มีอรรถเป็น ๒ อย่าง คือ แสดงสภาว-
ธรรม ๑ แสดงโอวาท ๑ การคัดเลือกสุภาษิตได้ถือหลักนี้ และเว้น
ภาษิตอื่นอันแย้งกับพุทธวจนะอย่าง ๑ เว้นคำปฏิญญาหรือแสดงมติ
อันขัดกับอรรถทั้งสองนั้นอีกอย่าง ๑.
๔. การจัดหมวดธรรม ได้เรียงตามลำดับอักษร ในหมวดหนึ่ง ๆ
นั้น ที่เนื่องด้วยอรรถ ก็เรียงไว้ตามลำดับอรรถ ที่เนื่องด้วยธรรม
ก็เรียงไว้ตามลำดับธรรม ที่เนื่องด้วยบุคคล ก็เรียงไว้ตามประเภท ที่
เนื่องด้วยโอวาท ก็เรียงไว้ตามข้อห้ามและคำสอน.
๕. คำแปลทั้งปวงอาศัยรูปเรื่องบ้าง อรรถกถาบ้าง สำนวน
ภาษบ้าง มีบางข้อที่พึ่งแก้ไขคำแปลแปลกจากฉบับก่อน ๆ เพราะได้
หลักฐานตามที่กล่าวแล้วนั้นเป็นสำคัญ.
๖. เลขบอกที่มาแห่งสุภาษิตนั้น ๆ ได้ค้นคัดจากพระไตรปิฎก
ฉบับสยามรัฐ ๔๕ เล่ม บางสุภาษิตมีที่มาหลายคัมภีร์ ก็ได้ระบุอักษร-
ย่อและเลขหน้าไว้หลายแห่ง อักษรย่อและเลข หมายความว่า ชื่อและ
หน้าและคัมภีร์นั้น ๆ เช่น ขุ. ธ. ๒๕/๒๙. หมายความว่า ขุททกนิกาย
ธรรมบท พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ หน้า ๒๙ ดังนี้เป็นต้น.
กองตำรา
มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
คำนำ (สำหรับฉบับที่ ๒)
คำนำ
(สำหรับฉบับที่ ๒)
หนังสือนี้เรียบเรียงขึ้น โดยกระแสพระราชดำริแห่งพระบาท-
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานเป็นของแจก ใน
งานเลื่อนกรมข้าพเจ้าเป็นกรมหลวง ที่ทรงเป็นพระราชธุระส่วนพระ-
องค์ โดยฐานทีทรงตั้งอยู่ในที่เป็นผู้ใหญ่ของข้าพเจ้า มีความแจ้งใน
พระราชปรารภต่อนี้ไป.
ต่อมาในรัชกาลปรัตยุบันนี้ จัดหลักสูตรสอบความรู้องค์
นักธรรมขึ้น หนังสือนี้ได้ใช้เป็นหลักสูตรสำหรับตั้งกระทู้ให้เรียง
ความแก้ ที่พิมพ์ครั้งที่ ๑ หมดไปแล้ว จึงให้พิมพ์ขึ้นใหม่เป็นของ
มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นครั้งที่ ๒.
กรม - วิชิรญาณวโรรส
วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ ๘ มิถุนายน ๑๔๕๘
(สำหรับฉบับที่ ๒)
หนังสือนี้เรียบเรียงขึ้น โดยกระแสพระราชดำริแห่งพระบาท-
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานเป็นของแจก ใน
งานเลื่อนกรมข้าพเจ้าเป็นกรมหลวง ที่ทรงเป็นพระราชธุระส่วนพระ-
องค์ โดยฐานทีทรงตั้งอยู่ในที่เป็นผู้ใหญ่ของข้าพเจ้า มีความแจ้งใน
พระราชปรารภต่อนี้ไป.
ต่อมาในรัชกาลปรัตยุบันนี้ จัดหลักสูตรสอบความรู้องค์
นักธรรมขึ้น หนังสือนี้ได้ใช้เป็นหลักสูตรสำหรับตั้งกระทู้ให้เรียง
ความแก้ ที่พิมพ์ครั้งที่ ๑ หมดไปแล้ว จึงให้พิมพ์ขึ้นใหม่เป็นของ
มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นครั้งที่ ๒.
กรม - วิชิรญาณวโรรส
วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ ๘ มิถุนายน ๑๔๕๘
คำนำ (สำหรับฉบับที่ ๑)
คำนำ
(สำหรับฉบับที่ ๑)
อันคำสุภาษิตย่อมเป็นที่นิยมของหมู่ชนทั้งหลาย แม้ต่างชาติ
ต่างภาษาและต่างศาสนา ต่างก็มีสุภาษิตในหมู่ของตน ผูกขึ้นตาม
ความนิยมให้ถูกแก่คราว แต่ก็เป็นธรรมดาของความดีที่ปรากฏ แก่ใจ
ของปราชญ์ ถึงจะไม่ได้รับความคิดจากกันมาโดยทางใดทางหนึ่ง ก็
ยังดำริร่วมกันได้ก็มี แต่ข้อที่ต่างก็มีเหมือนกัน เพราะความนิยม
ของฝ่ายหนึ่งย่อมต่างจากของอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างไรก็ดี คำสุภาษิต
ทั้งนั้น ย่อมเป็นคำสั้น ๆ จำได้ง่ายทั้งไพเราะมีความกว้าง ผู้ผูกขึ้น
เลือกความกล่าวให้เป็นที่จับใจ. ฝ่ายของไทยเราก็มีหลายอย่าง มี
สุภาษิตพระร่วงเป็นต้น ที่เลือกความมาจากบาลีก็มีบ้าง เช่นโลกนิติ.
ความคิดรวมสุภาษิตนี้ขึ้น ก็เพื่อจะเลือกคำสอนฝ่ายพระพุทธศาสนา
ไว้ในหมวดเดียวกัน จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ฝึกสอนผู้ศึกษา และผุ้
ปฏิบัติในทางนั้นอีกเรื่องหนึ่ง เช่นหนังสือนวโกวาทที่เป็นอยู่บัดนี้.
เพราะเหตุนั้น ในที่นี้ไม่ได้เก็บสุภาษิตของพวกถือลัทธิอื่นมากล่าว
มีแต่คำที่มาในพระคัมภีร์ฝ่ายพระพุทธศาสนา คำที่สั้นก็ได้ชักมาไว้
ตรง ๆ คำที่ยาวเกินกว่าต้องการในที่นี้ได้ย่นให้ส้นั ลง แต่คงใจความ
ตามเดิม คำเช่นนี้ได้เรียกว่านัย ได้แปลความไทยกับทั้งได้บอกที่มา
ไว้ด้วย อีกอย่างหนึ่ง คำทีท่านผู้รู้ปริยัติทั้งหลายอื่นบ้าง ข้าพเจ้าเอง
บ้าง อาศัยมติข้างพระพุทธศาสนาผูกขึ้นไว้ เพื่อประโยชน์เฉพาะเป็น
ข้อสุภาษิตบ้าง เพื่อประโยชน์อื่นบ้าง เข้าพวกกันได้ก็ได้นำมารวบ.
รวมไว้ด้วย แต่ข้างท้ายได้บอกนามผู้แต่งหรือหนังสือที่แต่งไว้. ข้อ
สุภาษิตในเรื่องนี้ ได้จัดสงเคราะห์เข้าเป็นหมวด ๆ เช่นว่าด้วยปัญญา
หรือความสัตย์ ก็รวมไว้ตามพวก และชื่อหมวดนั้น ก็จัดเข้าลำดับ
อักษรอื่นเพื่อค้นหาง่าย.
หนังสือนี้ เรียบเรียงขึ้นโดยกระแสพระราชดำริแห่งสมเด็จบรม-
บพิตรพระราชสมภารเจ้า ดังมีแจ้งต่อไปนี้ เพื่อพระราชทานเป็นของ
แจกในงานเลื่อนกรมข้าพเจ้า ที่ทรงเป็นพระราชธุระส่วนพระองค์ โดย
ฐานที่ทรงตั้งอยู่ในทีเป็นผู้ใหญ่ของข้าพเจ้า. มีเวลาทำน้อย ระเบียบที่
จัดไม่เรียบร้อยไปโดยตลอด และคัมภีร์เป็นที่มาบางแห่ง ก็ต้องอ้าง
แต่ที่เป็นชั้นรอง เช่นมังคลัตถทีปนี ที่ชักคำในแห่งอื่นมากล่าวไว้อีก
ต่อหนึ่ง ถึงอย่างไรก็พอจะยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ตามความมุ่งหมาย
ซึ่งกล่าวแล้วในข้างต้น.
กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที ๑๖ ตุลาคม ร. ศ๓๙. ๑๒๕
(สำหรับฉบับที่ ๑)
อันคำสุภาษิตย่อมเป็นที่นิยมของหมู่ชนทั้งหลาย แม้ต่างชาติ
ต่างภาษาและต่างศาสนา ต่างก็มีสุภาษิตในหมู่ของตน ผูกขึ้นตาม
ความนิยมให้ถูกแก่คราว แต่ก็เป็นธรรมดาของความดีที่ปรากฏ แก่ใจ
ของปราชญ์ ถึงจะไม่ได้รับความคิดจากกันมาโดยทางใดทางหนึ่ง ก็
ยังดำริร่วมกันได้ก็มี แต่ข้อที่ต่างก็มีเหมือนกัน เพราะความนิยม
ของฝ่ายหนึ่งย่อมต่างจากของอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างไรก็ดี คำสุภาษิต
ทั้งนั้น ย่อมเป็นคำสั้น ๆ จำได้ง่ายทั้งไพเราะมีความกว้าง ผู้ผูกขึ้น
เลือกความกล่าวให้เป็นที่จับใจ. ฝ่ายของไทยเราก็มีหลายอย่าง มี
สุภาษิตพระร่วงเป็นต้น ที่เลือกความมาจากบาลีก็มีบ้าง เช่นโลกนิติ.
ความคิดรวมสุภาษิตนี้ขึ้น ก็เพื่อจะเลือกคำสอนฝ่ายพระพุทธศาสนา
ไว้ในหมวดเดียวกัน จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ฝึกสอนผู้ศึกษา และผุ้
ปฏิบัติในทางนั้นอีกเรื่องหนึ่ง เช่นหนังสือนวโกวาทที่เป็นอยู่บัดนี้.
เพราะเหตุนั้น ในที่นี้ไม่ได้เก็บสุภาษิตของพวกถือลัทธิอื่นมากล่าว
มีแต่คำที่มาในพระคัมภีร์ฝ่ายพระพุทธศาสนา คำที่สั้นก็ได้ชักมาไว้
ตรง ๆ คำที่ยาวเกินกว่าต้องการในที่นี้ได้ย่นให้ส้นั ลง แต่คงใจความ
ตามเดิม คำเช่นนี้ได้เรียกว่านัย ได้แปลความไทยกับทั้งได้บอกที่มา
ไว้ด้วย อีกอย่างหนึ่ง คำทีท่านผู้รู้ปริยัติทั้งหลายอื่นบ้าง ข้าพเจ้าเอง
บ้าง อาศัยมติข้างพระพุทธศาสนาผูกขึ้นไว้ เพื่อประโยชน์เฉพาะเป็น
ข้อสุภาษิตบ้าง เพื่อประโยชน์อื่นบ้าง เข้าพวกกันได้ก็ได้นำมารวบ.
รวมไว้ด้วย แต่ข้างท้ายได้บอกนามผู้แต่งหรือหนังสือที่แต่งไว้. ข้อ
สุภาษิตในเรื่องนี้ ได้จัดสงเคราะห์เข้าเป็นหมวด ๆ เช่นว่าด้วยปัญญา
หรือความสัตย์ ก็รวมไว้ตามพวก และชื่อหมวดนั้น ก็จัดเข้าลำดับ
อักษรอื่นเพื่อค้นหาง่าย.
หนังสือนี้ เรียบเรียงขึ้นโดยกระแสพระราชดำริแห่งสมเด็จบรม-
บพิตรพระราชสมภารเจ้า ดังมีแจ้งต่อไปนี้ เพื่อพระราชทานเป็นของ
แจกในงานเลื่อนกรมข้าพเจ้า ที่ทรงเป็นพระราชธุระส่วนพระองค์ โดย
ฐานที่ทรงตั้งอยู่ในทีเป็นผู้ใหญ่ของข้าพเจ้า. มีเวลาทำน้อย ระเบียบที่
จัดไม่เรียบร้อยไปโดยตลอด และคัมภีร์เป็นที่มาบางแห่ง ก็ต้องอ้าง
แต่ที่เป็นชั้นรอง เช่นมังคลัตถทีปนี ที่ชักคำในแห่งอื่นมากล่าวไว้อีก
ต่อหนึ่ง ถึงอย่างไรก็พอจะยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ตามความมุ่งหมาย
ซึ่งกล่าวแล้วในข้างต้น.
กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที ๑๖ ตุลาคม ร. ศ๓๙. ๑๒๕
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)