หน้าเว็บ

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 33

๑๙๗. อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ กึ กริสฺสนฺติ ตารกา.
ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำ
อะไรได้.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๖.

๑๙๘. วโส อิสฺสริยํ โลเก.
อำนาจเป็นใหญ่ในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๑๙๙. สิริ โภคานมาสโย.
ศรีเป็นที่อาศัยแห่งโภคทรัพย์.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๒๐๐. กิจฺฉา วุตฺติ อสิปฺปสฺส.
ความเป็นไปของคนไร้ศิลปะ ย่อมฝืดเคือง.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๐.

๒๐๑. สาธุ โข สิปฺปกํ นาม อปิ ยาทิสกีทิสํ.
ขึ้นชื่อว่าศิลปะแม้เช่นใดเช่นหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้
สำเร็จได้.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๕.

๒๐๒. มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ.
ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ.
ว. ว.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 34

๒๐๓. หิริโอตฺตปฺปิยญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ.
หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี.
ว. ว.

๒๐๔. โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา.
เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก.
ว. ว.

๒๐๕. อรติ โลกนาสิกา.
ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย.
ว. ว.

๒๐๖. มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห.
อัชฌาสัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณา เป็นลักษณะของ
มหาบุรุษ.
ว. ว.

๒๐๗. นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา.
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี.
นัย-ส. ส.

๒๐๘. สพฺพญฺเจ ปฐวึ ทชฺชา นากตญฺญุมภิราธเย.
ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๓.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 35

๒๐๙. หนฺนติ โภคา ทุมฺเมธํ.
โภคทรัพย์ ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๒๑๐. สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ.
สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย.
วิ. จุล. ๗/๑๗๒. สํ. ส. ๑๕/๒๒๖. สํ. นิ. ๑๖/๒๘๔.

๒๑๑. กิโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ.
ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

๒๑๒. กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ.
ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

๒๑๓. กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ.
การฟังธรรมของสัตบุรุษ เป็นการยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

๒๑๔. กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.
ความเกิดแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๙.

๒๑๕. อสชฺฌายมลา มนฺตา.
มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 36

๒๑๖. อนุฏฺฐานมลา ฆรา.
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๑๗. มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ.
ความเกียจคร้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๑๘. มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ.
ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๙๘. ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๒๑๙. สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ.
ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ มีเฉพาะตัว.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๒๒๐. นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย.
ผู้อื่นพึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๒๒๑. สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ.
พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ.
ม. ม. ๑๒/๗๐.

๒๒๒. สุทฺสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตาโน ปน ทุทฺทสํ.
ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 37

๒๒๓. นตฺถิ โลเก รโห นาม ปาปกมฺมํ ปกุพฺพโต.
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก.
องฺ. ติก. ๒๐/๑๘๙. ขุ. ชา. จตุตกฺก. ๒๗/๑๓๑.

๒๒๔. เนสา สภา ยตฺถ น สนฺติ สนฺโต.
สัตบุรุษไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา.
สํ. ส. ๑๕/๒๗๐. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๕๑.

๒๒๕. นตฺเถตํ โลกสฺมึ ยํ อุปาทิยมานํ อนวชฺชํ อสฺส.
สิ่งใดเข้าไปยึดถืออยู่ จะพึงหาโทษมิได้ สิ่งนั้นไม่มีในโลก.
ร. ร. ๔.

๒๒๖. โภคา สนฺนิจยํ ยนฺติ วมฺมิโกวูปจียติ.
โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือน
จอมปลวกกำลังก่อขึ้น.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๒.

๒๒๗. อลํ พาลสฺส โมหาย โน จ ปารคเวสิโน.
รูปโฉมพอลวงคนโง่ให้หลงได้ แต่ลวงคนแสวงหา
พระนิพพานไม่ได้เลย.
ม. ม. ๑๓/๔๐๑. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

๒๒๘. รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ.
ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ.
สํ. ส. ๑๕/๕๙.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 38

๒๒๙. ถีนํ ภาโว ทุราชาโน.
ภาวะของหญิงรู้ได้ยาก.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๑.

๒๓๐. อุกฺกฏฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ.
ในเวลาคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๒๓๑. มนฺตีสุ อกุตูหลํ.
ในบรรดาที่ปรึกษา ย่อมต้องการคนไม่พูดพล่าม.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๒๓๒. ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ.
ในเวลามีข้าวน้ำ ย่อมต้องการคนที่รัก.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๒๓๓. อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ.
ในเมื่อเรื่องราวเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๐.

๒๓๔. อาปทาสุ ถาโม เวทิตพฺโพ.
กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย.
นัย-ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๘.

๒๓๕. ยโส ลทฺธา น มชฺเชยฺย.
ได้ยศแล้ว ไม่ควรเมา.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๔๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 39

๒๓๖. จาคมนุพฺรูเหยฺย.
พึงเพิ่มพูลความสละ.
ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.

๒๓๗. สนฺติเมว สิกฺเขยฺย.
พึงศึกษาความสงบนั่นแล.
นัย-ม. อุป. ๑๔/๔๓๖.

๒๓๘. โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข.
ผู้เพ่งสันติ พึงละอามิสในโลกเสีย.
สํ. ส. ๑๕/๓, ๗๗, ๙๐.

๒๓๙. ตํ คณฺเหยฺย ยทปณฺณกํ.
สิ่งใดไม่ผิด พึงถือเอาสิ่งนั้น.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑.

๒๔๐. สมฺมุขา ยาทิสํ จิณฺณํ ปรมฺมุขาปิ ตาทิสํ.
ต่อหน้าประพฤติเช่นใด ถึงลับหลังก็ให้ประพฤติเช่นนั้น.
ส. ส.

๒๔๑. อปฺปโต โน จ อุลฺลเป.
เมื่อยังไม่ถึง ไม่ควรพูดอวด.
ส. ส.

๒๔๒. สนาถา วิหรถ มา อนาถา.
ท่านทั้งหลายจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าไม่มีที่พึ่งอยู่เลย.
นัย. องฺ. ทสกฺ ๒๔/๒๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 40

๒๔๓. นาญฺญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย.
ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่.
ขุ. อุ. ๒๕/๑๗๙.

๒๔๔. อาโรคฺยมิจฺเฉ ปรมญฺจ ลาภํ.
พึงปรารถนาความไม่มีโรคซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๗.

๒๔๕. อตีตํ นานฺวาคเมยฺย.
ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.
ม. อุป. ๑๔/๓๔๘.

๒๔๖. นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ.
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.
ม. อุป. ๑๔/๓๔๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 41

๑๓. ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา

๒๔๗. นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา.
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี.
สํ. ส. ๑๕/๙.

๒๔๘. ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต.
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๒๔๙. โยคา เว ชายตี ภูริ.
ปัญญาย่อมเกิดเพราะความประกอบ.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.

๒๕๐. อโยคา ภูริสงฺขโย.
ความสิ้นปัญญาย่อมเกิดเพราะความไม่ประกอบ.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.

๒๕๑. สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ.
ความได้ปัญญา ให้เกิดสุข.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๒๕๒. ปญฺญา นรานํ รตนํ.
ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 42

๒๕๓. ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย.
ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์.
นัย- ม. ม. ๑๓/๔๑๓. นัย- ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๙.

๒๕๔. นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส.
ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.

๒๕๖. ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต.
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๕.

๒๕๗. ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ.
คนเกียจคร้านย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๒.

๒๕๘. สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ.
ผู้ไม่ประมาท พินิจพิจารณา ตั้งใจฟัง ย่อมได้ปัญญา.
สํ. ส. ๑๕/๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑.

๒๕๙. ปญฺญายตฺถํ วิสฺสติ.
คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๓.