หน้าเว็บ

พุทธศาสนาสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 53

๓๒๓. โจรา โลกสฺมิมพฺพุทา.
พวกโจร เป็นเสนียดในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๓๒๔. สุวิชาโน ภวํ โหติ.
ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

๓๒๕. ทุวิชาโน ปราภโว.
ผู้รู้ชั่ว เป็นผู้เสื่อม.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

๓๒๖. ธมฺมกาโม ภวํ โหติ.
ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

๓๒๗. ธมฺมเทสฺสี ปราภโว.
ผู้ชังธรรม เป็นผู้เสื่อม.
ขุ. สุ. ๒๕/๓๔๖.

๓๒๘. สกฺกตฺวา สกฺกโต โหติ.
ผู้ทำสักการะ ย่อมได้รับสักการะ.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.

๓๒๙. ครุ โหติ สคารโว.
ผู้เคารพ ย่อมมีผู้เคารพ.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 54

๓๓๐. ปูชโก ลภเต ปูชํ.
ผู้บูชา ย่อมได้รับบูชา.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.

๓๓๑. วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ.
ผู้ไหว้ ย่อมได้รับไหว้ตอบ.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๕๔.

๓๓๒. ปฏิสงฺขานพลา พหุสฺสุตา.
ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๒๗.

๓๓๓. สาธุ สมฺพหุลา ญาตี.
มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๓.

๓๓๔. วิสฺสาสปรมา ญาตี.
ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๓๓๕. เนกาสี ลภเต สุขํ.
ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๓.

๓๓๖. นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต.
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 55

๓๓๗. ปริภูโต มุทุ โหติ.
คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.

๓๓๘. อติติกฺโข จ เวรวา.
คนแข็งกระด้าง ก็มีเวร.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๒/๓๓๙.

๓๓๙. พหุมฺปิ รตฺโต ภาเสยฺย.
คนรักแล้ว มักพูดมาก.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.

๓๔๐. ทุฏฺโฐปิ พหุ ภาสยิ.
คนโกรธแล้ว มักพูดมาก.
ขุ. ชา. ทฺวาทส. ๒๗/๓๓๙.

๓๔๑. อนุปาเยน โย อตฺถํ อิจฺฉติ โส วิหญฺญติ.
ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบาก.

๓๔๒. น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ.
คนตรง ไม่พูดคลาดความจริง.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๒๘.

๓๔๓. ยถาวาที ตถาการี.
พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น.
ที. มหา. ๑๐/๒๕๕. ขุ. สุ. ๒๕/๓๙๔. ขุ. เถร. ๒๖/๔๔๑. ขุ. ชา. จตุตฺก. ๒๗/๑๔๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 56

๓๔๔. หิรินิเสโธ ปุริโส โกจิ โลกสฺมิ วิชฺชติ.
มีบางคนในโลกที่ยับยั้งด้วยความอาย.
สํ. ส. ๑๕/๑๑. ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.

๓๔๕. กวิ คาถานมาสโย.
กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๒.

๓๔๖. พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม (ของบุตร).
องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.

๓๔๗. ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร.
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นบุรพาจารย์ (ของบุตร).
องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.

๓๔๘. อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ.
มารดาบิดา เป็นที่นับถือของบุตร.
องฺ. ติก. ๒๐/๑๖๘. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๙๒. ขุ. อิติ. ๒๕/๓๑๔.

๓๔๙. อิตฺถี มลํ พฺรหฺมจริยสฺส.
สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์.
สํ. ส. ๑๕/๕๒, ๕๙.

๓๕๐. อิตฺถี ภณฺฑานมุตฺตมํ.
สตรีเป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 57

๓๕๑. ภตฺตญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชนฺติ ปณฺฑิตา.
ภริยาผู้ฉลาด ย่อมนับถือสามีและคนควรเคารพทั้งปวง.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๗๓.

๓๕๒. ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา.
สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี.
สํ. ส. ๑๕/๕๗.

๓๕๓. สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ.
บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
สํ. ส. ๑๕/๑๐.

๓๕๔. โย จ ปุตฺตานมสฺสโว.
บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ.
สํ. ส. ๑๕/๑๐.

๓๕๕. ปุตฺตา วตฺถุ มนุสฺสานํ.
บุตรทั้งหลายเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๑.

๓๕๖. ผาตึ กยิรา อวิเหฐยํ ปรํ.
ควรทำแต่ความเจริญ. อย่าเบียดเบียนเขา.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๑๒.

๓๕๗. คุณวา จาตฺตโน คุณํ.
ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้.
ส. ส.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 58

๓๕๘. รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ.
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง.
ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๓๖.

๑๗. ปุญญวรรค คือ หมวดบุญ

๓๕๙. ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ.
บุญอันโจรนำไปไม่ได้.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๓๖๐. ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ.
บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๓๖๑. สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.
ความสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๐.

๓๖๒. ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ.
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า.
สํ. ส. ๑๕/๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๔. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๔.

๓๖๓. ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ.
ควรทำบุญอันนำสุขมาให้.
สํ. ส. ๑๕/๓. องฺ. ติก. ๒๐/๑๙๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 59

๑๘. มัจจุวรรค คือ หมวดมฤตยู

๓๖๔. สพฺพํ เภทปริยนฺตํ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ.
ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลาย
เป็นที่สุด.
ที. มหา. ๑๐/๑๔๑. ขุ. สุ. ๒๕/๔๔๘. ขุ. มหา. ๒๙/๑๔๕.

๓๖๕. อปฺปกญฺจิทํ ชีวิตมาหุ ธีรา.
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. สุ. ๒๕/๔๘๕. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๖๖. น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา.
ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย.
ม. อุ. ๑๔/๓๔๘. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๖๕.

๓๖๗. ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา.
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน.
สํ. ส. ๑๕/๓. องฺ. ติก. ๒๐/๑๙๘. ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๑๖.

๓๖๘. น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา.
เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๖๙. น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ.
ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 60

๓๗๐. น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ.
กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๗๑. น ทีฆมายุํ ลภเต ธเนน.
คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๘.

๓๗๒. สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ.
สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก.
ท. มหา. ๑๐/๑๘๑. สํ. ส. ๑๕/๒๓๒.

๓๗๓. อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา.
ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า.
ที. มหา. ๑๐/๑๔๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑๗.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 61

๑๙. มิตตวรรค คือ หมวดมิตร

๓๗๔. สตฺโถ ปวสโต มิตฺตํ.
หมู่เกวียน (หรือต่าง) เป็นมิตรของคนเดินทาง.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๓๗๕. มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร.
มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน.
สํ. ส. ๑๕/๕๐.

๓๗๖. สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ.
สหาย เป็นมิตรของคนมีความต้องการเกิดขึ้นเนือง ๆ.
สํ. ส. ๑๕/๕๑.

๓๗๗. สพฺพตฺถ ปูชิโต โหติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ.
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง.
ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๕๔.

๓๗๘. สพฺเพ อมิตฺเต ตรติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ.
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมผ่านพ้นศัตรูทั้งปวง.
ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๑๕๕.

๓๗๙. มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก.
ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวแท้.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๙๗.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 62

๓๘๐. ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร.
มีมิตรเลวมีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและที่เที่ยวเลว.

๑๙๘.

๓๘๑. ภริยา ปรมา สขา.
ภริยาเป็นเพื่อนสนิท.
สํ. ส. ๑๕/๕๑.

๓๘๒. นตฺถิ พาเล สหายตา.
ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุ. ๑๔/๒๙๗. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓, ๕๙.

๓๘๓. อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา.
เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๙.

๓๘๔. สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา.
ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา.
วิ. มหา. ๕/๓๓๖. ม. อุป. ๑๔/๒๙๗.

๓๘๕. โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ เอโก จเร น จ ปาปานิ กริยา.
ถ้าไม่ได้สหายผู้รอบคอบ พึงเที่ยวไปคนเดี