หน้าเว็บ

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 28

๑๖๕. สตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย.
ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก.
สํ. ส. ๑๕/๒๖. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗๑๖๓. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗๑๒๙๔.

๑๖๖. สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ.
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า.
สํ. ส. ๑๕/๑๐๒. ขุ. ธ. ๒๕/๓๕. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๓๖.

๑๖๗. สทฺธมฺโม สพฺภิ รกฺขิโต.
ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษรักษา.
ที. มหา. ๑๐/๒๗๙.

๑๖๘. ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ.
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้.
สํ. ส. ๑๕/๕๘. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๐. ขุ. ชา. ทสก. ๒จ/๒๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.

๑๖๙. สพฺเพสํ สหิโต โหติ สทฺธมฺเม สุปติฏฺฐิโต.
ผู้ตั้งมั่นในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๔๙.

๑๗๐. ธมฺมปีติ สุขํ เสติ.
ผู้มีปีติในธรรม อยู่เป็นสุข.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๕.

๑๗๑. ธมฺมจารี สุขํ เสติ.
ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗, ๓๘. ขุ. อุ. ๒๕/๓๖๖.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น