หน้าเว็บ

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 23

๑๓๓. สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ.
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๑๓๔. ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกทั้งปวง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๓.

๑๓๕. น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ.
ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๒.

๑๓๖. ตํ โข ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ นาวชิยฺยติ.
ความชนะใดที่ชนะแล้วไม่กลับแพ้ ความชนะนั้นดี.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๒.

๑๓๗. อกฺโกเธน ชิเน โกธํ.
พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ 
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.
 ๑๓๘. อสาธุํ สาธุนา ชิเน.
พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.

๑๓๙. ชิเน กทริยํ ทาเนน.
พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 24

๑๔๐. สจฺเจนาลิกวาทินํ.
พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๕. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๐.

๙. ทานวรรค คือ หมวดทาน.

๑๔๑. ทานญฺจ ยุทฺธญฺจ สมานมาหุ.
ท่านว่า ทานและการรบ เสมอกัน.
สํ. ส. ๑๕/๒๙. ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/๒๔๙.

๑๔๒. นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ อปฺปกา นาม ทกฺขิณา.
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี.
ขุ. วิมาน. ๒๖/๘๒.

๑๔๓. วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ.
การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ.
สํ. ส. ๑๕/๓๐. ขุ. ชา. อฏฺฐก. ๒๗/๒๔๙. เปต. ๒๖/๑๙๗.

๑๔๔. พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ.
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๘.

๑๔๕. ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ.
ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้.
สํ. ส. ๑๕/๓๑๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 25

๑๔๖. ททํ ปิโย โหติ ภชนฺติ นํ พหู.
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา.
องฺ. ปญฺก. ๒๒/๔๓.

๑๔๗. ททมาโน ปิโย โหติ.
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๔.

๑๔๘. สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ.
ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๕.

๑๔๙. มนาปทายี ลภเต มนาปํ.
ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๕.

๑๕๐. เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ.
ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.

๑๕๑. อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ.
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๖.

๑๕๒. ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ.
เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น.
ที. มหา. ๑๐/๑๕๙. ขุ. อุ. ๒๕/๒๑๕.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 26

๑๕๓. ทเทยฺย ปุริโส ทานํ.
คนควรให้ของที่ควรให้.
ขุ. ชา. สตฺตก. ๒๗/๒๑๗.

๑๐. ทุกขวรรค คือ หมวดทุกข์

๑๕๔. นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา.
ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๕๕. สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา.
สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๕๖. ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา.
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๕.

๑๕๗. ทฬิทฺทิยํ ทุกขํ โลเก.
ความจนเป็นทุกข์ในโลก.
องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๙๔.

๑๕๘. อิณาทานํ ทุกขํ โลเก.
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก.
นัย-องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๓๙๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 27

๑๕๙. ทุกฺขํ อนาโถ วิหรติ.
คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์.
นัย-องฺ. ทสก. ๒๔/๒๗, ๓๑.

๑๖๐. ทุกขํ เสติ ปราชิโต.
ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์.
สํ. ส. ๑๕/๑๒๒. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๖๑. อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา.
ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๔.

๑๑. ธัมมวรรค คือ หมวดธรรม

๑๖๒. ธมฺโม รหโท อกทฺทโม.
ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม.
ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๒๐๒.

๑๖๓. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา.
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๕.

๑๖๔. ธมฺโม หิ อิสินํ ธโช.
ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี.
สํ. นิ. ๑๖/๒๖. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๖๖. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๕๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 28

๑๖๕. สตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย.
ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก.
สํ. ส. ๑๕/๒๖. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗๑๖๓. ขุ. ชา. ทสก. ๒๗๑๒๙๔.

๑๖๖. สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ.
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า.
สํ. ส. ๑๕/๑๐๒. ขุ. ธ. ๒๕/๓๕. ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๓๖.

๑๖๗. สทฺธมฺโม สพฺภิ รกฺขิโต.
ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษรักษา.
ที. มหา. ๑๐/๒๗๙.

๑๖๘. ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ.
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้.
สํ. ส. ๑๕/๕๘. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๐. ขุ. ชา. ทสก. ๒จ/๒๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.

๑๖๙. สพฺเพสํ สหิโต โหติ สทฺธมฺเม สุปติฏฺฐิโต.
ผู้ตั้งมั่นในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๔๙.

๑๗๐. ธมฺมปีติ สุขํ เสติ.
ผู้มีปีติในธรรม อยู่เป็นสุข.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๕.

๑๗๑. ธมฺมจารี สุขํ เสติ.
ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗, ๓๘. ขุ. อุ. ๒๕/๓๖๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 29

๑๗๒. ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺจารึ.
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.
ขุ. ชา. ทสกฺ ๒๗/๒๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.

๑๗๓. น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๙๐. ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๔.

๑๗๔. ธมฺเม  ิตํ น วิชหาติ กิตฺติ.
เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
องฺ. ปญฺจก. ๒๓/๕๑.

๑๗๕. ธมฺเม  ิตา เย น กโรนฺติ ปาปกํ.
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป.
องฺ. จตุตกฺก. ๒๑/๒๕.

๑๗๖. สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย.
สภาวธรรมทั้งปวง ไม่ควรถือมั่น.
ม. ม. ๑๒/๔๖๔.

๑๗๗. โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ.
พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย.
ม. อุปฺ ๑๔/๔๗๑. สํ. ส. ๑๕/๗๘. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๓.

๑๗๘. ธมฺมํ จเร สุจิตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร.
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่ควรประพฤติให้ทุจริต.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๘. ขุ. อุ. ๒๕/๓๖๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 30

๑๗๙. สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ.
ควรเคารพสัทธรรม.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๗.

๑๘๐. กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย.
บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย.
สํ. มหา. ๑๙/๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๑๘๑. สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว.
สํ. มหา. ๑๙/๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๑๒. ปกิณณกวรรค คือ หมวดเบ็ดเตล็ด

๑๘๒. อฏฺฐงฺคิโก จ มคฺคานํ เขมํ อมตคามินํ.
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ เป็นทางเกษม
ให้ถึงอมตธรรม.
ม. ม. ๑๓/๒๘๑.

๑๘๓. วิสุทฺธิ สพฺพเกลฺเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ.
ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นความดับจากทุกข์
ทั้งหลาย.
ร. ร. ๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 31

๑๘๔. ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ.
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมี
ความดับไปเป็นธรรมดา.
สํ. มหา. ๑๙/๕๓๑.

๑๘๕. ยถาปจฺจยํ ปวตฺตนฺติ.
สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมเป็นไปตามปัจจัย.
ร. ร. ๔.

๑๘๖. อาโรคฺยปรมา ลาภา.
ความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง.
ม. ม. ๑๓/๒๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๘๗. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา.
ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.

๑๘๘. สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ.
สังขารที่ยั่งยืน ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๙.
๑๘๙. อนิจฺจา วต สงฺขารา.

สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ.
ที. มหา. ๑๐/๑๘๑. สํ. ส. ๑๕/๘. สํ. นิ. ๑๖/๒๒๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 32

๑๙๐. ทุลฺลภา ขณสมฺปตฺติ.
ความถึงพร้อมแห่งขณะ หาได้ยาก.
ส. ม.

๑๙๑. ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส.
การเห็นพระพุทธเจ้าเนือง ๆ เป็นการหาได้ยาก.
ม. ม. ๑๓/๕๕๔. ขุ. สุ. ๒๕/๔๔๔.

๑๙๒. ขโณ โว มา อุปจฺจคา.
ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๓๑. ขุ. ธ. ๒๕/๕๗. ขุ. สุ. ๒๕/๓๘๙.

๑๙๓. อติปตติ วโย ขโณ ตเถว.
วัยย่อมผ่านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๑๒.

๑๙๔. กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา.
กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๕.

๑๙๕. อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว.
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๙.

๑๙๖. นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา.
ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่.
ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๖.