หน้าเว็บ

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 1

๑. อัตตวรรค คือ หมวดตน

๑. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย.
ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี.
ขุ. ธ. ๒๕/๒๙.

๒. อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
ได้ยินว่าตนแล ฝึกได้ยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๓. อตฺตา สุทฺนฺโต ปุริสสฺส โชติ.
ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นแสงสว่างของบุรุษ.
สํ. ส. ๑๕/๒๔๘.

๔. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ.
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖,๖๖.

๕. อตฺตา หิ อตฺตโน คติ.
ตนเทียว เป็นคติของตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 2

๖. อตฺตา หิ ปรมํ ปิโย.
ตนแล เป็นที่รักยิ่ง.
องฺ. สตฺตก. ๒๓/๙๙.

๗. นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ.
ความรัก (อื่น) เสมอด้วยตนไม่มี.
สํ. ส. ๑๕/๙.

๘. อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ.
ตนทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๙. อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ.
ตนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗. ขุ. มหา. ๒๙/๓๗. ขุ. จู. ๓๐/๑๑๖.

๑๐. อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา.
มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด.
ขุ. สุ. ๒๕๑๓๓๙.

๑๑. อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.
บัณฑิต ย่อมฝึกตน.
ม. ม. ๑๓/๔๘๗. ขุ. ธ. ๒๕/๒๕. ขุ. เถร. ๒๖/๓๘๙.

๑๒. อตฺตานํ ทมยนตฺติ สุพฺพตา.
ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 3

๑๓. อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.
ผู้มีตนฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๑๔. โย รกฺขติ อตฺตานํ รกฺขิโต ตสฺส พาหิโร.
ผู้ใดรักษาตนได้ ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย.
องฺ. ฉกฺก. ๒๒/๔๑๗.

๑๕. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ.
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๑๖. ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต.
สํ. มหา. ๑๙/๒๙. ขุ. ธ. ๒๕/๒๖.

๑๗. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ.
ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.

๑๘. อตฺตนา โจทยตฺตานํ.
จงเตือนตนด้วยตนเอง.
ขุ. ธ. ๒๕/๖๖.

๑๙. ปฏิมํเสตมตฺตนา.
จงพิจารณาตนด้

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 4

๒๐. ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.

๒๑. อตฺตานุรกฺขี ภว มา อฑยฺหิ.
จงเป็นผู้ตามรักษาตน อย่าได้เดือดร้อน.
ขุ. ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๗๒.

๒๒. อตฺตานญฺจ น ฆาเตสิ.
อย่าฆ่าตนเสียเลย.
ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๒๗๙.

๒๓. อตฺตานํ น ทเท โปโส.
บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๒๔. อตฺตานํ น ปริจฺจเช.
บุรุษไม่พึงสละเสียซึ่งตน.
สํ. ส. ๑๕/๖๐.

๒๕. อตฺตานํ นาติวตฺเตยฺย.
บุคคลไม่ควรลืมตน.
ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๐๓.

๒๖. อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย.
ไม่ควรพร่าประโยชน์ตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 5

๒๗. อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา น นํ ปาเปน สํยุเช.
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว.
สํ. ส. ๑๕/๑๐๔.

๒๘. ยทตฺตครหึ ตทกุพฺพมาโน.
ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น.
ขุ. ส. ๒๕/๔๘๖.

๒. อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท.

๒๙. อปฺปมาโท อมตํปทํ.
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.

๓๐. อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฐํว รกฺขติ.
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด.
ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๐.

๓๑. อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ.
บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท.
สํ. ส. ๑๕/๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๓. ขุ. ธ. ๒๕/๑๙. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 6

๓๒. อปฺปมาเท ปโมทนฺติ.
บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.

๓๓. อปฺปมตฺตา น มียนฺติ.
ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย.
ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๕๒๔.

๓๔. อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ.
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์.
ม. ม. ๑๓/๔๘๘. สํ. ส. ๑๕/๓๖. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. ขุ. เถร. ๒๖/๓๙๐.

๓๕. อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณหาติ ปณฺฑิโต.
บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง.
สํ. ส. ๑๕/๑๒๖. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๕๓. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๔๒.

๓๖. อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ.
ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม.
ที. มหา. ๑๐/๑๘๐. สํ. ส. ๑๕/๒๓๑.

๓๗. อปฺปมาทรตา โหถ.
ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท.
ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 7

๓. กัมมวรรค คือ หมวดกรรม.

๓๘. กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปฺปณีตตาย.
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือให้ทรามและประณีต.
ม. อุป. ๑๔/๓๘๕.

๓๙. ยงฺกิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ.
การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก.
นัย-สํ. ส. ๑๕/๖๘.

๔๐. สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.
กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคติ.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๗.

๔๑. สุกรํ สาธุนา สาธุ.
ความดี อันคนดีทำง่าย.
วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.

๔๒. สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ.
ความดี อันคนชั่วทำยาก.
วิ. จุล. ๗/๑๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.

๔๓. อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย.
ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า.
สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 8

๔๔. ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ.
ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.
สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

๔๕. กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย.
ความดี ทำนั่นแล ดีกว่า.
สํ. ส. ๑๕/๖๘. ขุ. ธ. ๒๕/๕๖.

๔๖. น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ.
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.
สํ. ส. ๑๕/๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

๔๗. ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ.
ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นแลเป็นดี.
สํ. ส. ๑๕/๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๒๓.

๔๘. สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ.
การที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

๔๙. ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ.
การใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง.
ขุ. ธ. ๒๕/๓๗.

๕๐. น หิ ตํ สุลภํ โหติ สุขํ ทุกฺกฏการินา.
สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย.
สํ. ส. ๑๕/๑๐๔.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 9

๕๑. กลฺยาณการี กลฺยาณํ. ปาปการี จ ปาปกํ.
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว.
สํ. ส. ๑๕/๓๓๓. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๘๔.

๕๒. กมฺมุนา วตฺตี โลโก.
สัตวโลกย่อมเป็นไปตามกรรม.
ม. ม. ๑๓/๖๔๘. ขุ. สุ. ๒๕/๔๕๗.

๕๓. นิสมฺม กรณํ เสยฺโย.
ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า.
ว. ว.

๕๔. กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ.
สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้.
ส. ส.

๕๕. ปฏิกจฺเจว ตํ กยิรา ยํ ชญฺญา หิตมตฺตโน.
รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว.
สํ. ส. ๑๕/๘๑.

๕๖. กยิรา เจ กยิราเถนํ.
ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ).
สํ. ส. ๑๕/๖๗. ขุ. ธ. ๒๕๑๕๖.

๕๗. กเรยฺย วากฺยํ อนุกมฺปกานํ.
ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๒๗๒.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 10

๕๘. กาลานุรูปํว ธุรํ นิยุญฺเช.
พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว.
ว. ว.

๕๙. รกฺเขยฺย อตฺตโน สาธุํ ลวณํ โลณตํ ยถา.
พึงรักษาความดีของตนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม.
ส. ส.

๖๐. กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจํ.
พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔.

๖๑. นานตฺถกามสฺส กเรยฺย อตฺถํ.
ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ.
ขุ. ชา. ทสก. ๒๗/๘๔.

๖๒. มา จ สาวชฺชมาคมา.
อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย.
ส. ฉ.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 11

๔. กิเลสวรรค คือ หมวดกิเลส.

๖๓. สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม.
ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน.
สํ. ส. ๑๕/๓๒. อง. ฉกฺก. ๒๒/๔๖๐.

๖๔. น สนฺติ กามา มนุเชสุ นิจฺจา.
กามทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์.
สํ. ส. ๑๕/๓๑.

๖๕. กาเมหิ โลกมฺหิ น อตฺถิ ติตฺติ.
ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก.
ม. ม. ๑๓/๔๑๒. ขุ. เถร. ๒๖/๓๗๗.

๖๖. น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ.
ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝนคือกหาปณะ.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๐. ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๐๒.

๖๗. นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ.
ทุกข์ (อื่น) ยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี.
ขุ. ชา. เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕.

๖๘. นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.

พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ - หน้าที่ 12

๖๙. อิจฉา โลกสฺมิ ทุชฺชหา.
ความอยากละได้ยากในโลก.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๗๐. อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา.
ความอยากมีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย.
ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๔.

๗๑. อิจฺฉา นรํ ปริกสฺสติ.
ความอยากย่อมเสือไสซึ่งนรชน.
สํ. ส. ๑๕/๖๑.

๗๒. นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ.
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕-๔๒,๔๘.

๗๓. โลโภ ธมฺมานํ ปริปนฺโถ.
ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย.
สํ. ส. ๑๕/๕๙.

๗๔. อติโลโภ หิ ปาปโก.
ความละโมบเป็นบาปแท้.
วิ. ภิ. ๓/๙๖. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๔.

๗๕. นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ.
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี.
ขุ. ธ. ๒๕/๔๘.