คำนำ
(สำหรับฉบับที่ ๑)
อันคำสุภาษิตย่อมเป็นที่นิยมของหมู่ชนทั้งหลาย แม้ต่างชาติ
ต่างภาษาและต่างศาสนา ต่างก็มีสุภาษิตในหมู่ของตน ผูกขึ้นตาม
ความนิยมให้ถูกแก่คราว แต่ก็เป็นธรรมดาของความดีที่ปรากฏ แก่ใจ
ของปราชญ์ ถึงจะไม่ได้รับความคิดจากกันมาโดยทางใดทางหนึ่ง ก็
ยังดำริร่วมกันได้ก็มี แต่ข้อที่ต่างก็มีเหมือนกัน เพราะความนิยม
ของฝ่ายหนึ่งย่อมต่างจากของอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างไรก็ดี คำสุภาษิต
ทั้งนั้น ย่อมเป็นคำสั้น ๆ จำได้ง่ายทั้งไพเราะมีความกว้าง ผู้ผูกขึ้น
เลือกความกล่าวให้เป็นที่จับใจ. ฝ่ายของไทยเราก็มีหลายอย่าง มี
สุภาษิตพระร่วงเป็นต้น ที่เลือกความมาจากบาลีก็มีบ้าง เช่นโลกนิติ.
ความคิดรวมสุภาษิตนี้ขึ้น ก็เพื่อจะเลือกคำสอนฝ่ายพระพุทธศาสนา
ไว้ในหมวดเดียวกัน จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ฝึกสอนผู้ศึกษา และผุ้
ปฏิบัติในทางนั้นอีกเรื่องหนึ่ง เช่นหนังสือนวโกวาทที่เป็นอยู่บัดนี้.
เพราะเหตุนั้น ในที่นี้ไม่ได้เก็บสุภาษิตของพวกถือลัทธิอื่นมากล่าว
มีแต่คำที่มาในพระคัมภีร์ฝ่ายพระพุทธศาสนา คำที่สั้นก็ได้ชักมาไว้
ตรง ๆ คำที่ยาวเกินกว่าต้องการในที่นี้ได้ย่นให้ส้นั ลง แต่คงใจความ
ตามเดิม คำเช่นนี้ได้เรียกว่านัย ได้แปลความไทยกับทั้งได้บอกที่มา
ไว้ด้วย อีกอย่างหนึ่ง คำทีท่านผู้รู้ปริยัติทั้งหลายอื่นบ้าง ข้าพเจ้าเอง
บ้าง อาศัยมติข้างพระพุทธศาสนาผูกขึ้นไว้ เพื่อประโยชน์เฉพาะเป็น
ข้อสุภาษิตบ้าง เพื่อประโยชน์อื่นบ้าง เข้าพวกกันได้ก็ได้นำมารวบ.
รวมไว้ด้วย แต่ข้างท้ายได้บอกนามผู้แต่งหรือหนังสือที่แต่งไว้. ข้อ
สุภาษิตในเรื่องนี้ ได้จัดสงเคราะห์เข้าเป็นหมวด ๆ เช่นว่าด้วยปัญญา
หรือความสัตย์ ก็รวมไว้ตามพวก และชื่อหมวดนั้น ก็จัดเข้าลำดับ
อักษรอื่นเพื่อค้นหาง่าย.
หนังสือนี้ เรียบเรียงขึ้นโดยกระแสพระราชดำริแห่งสมเด็จบรม-
บพิตรพระราชสมภารเจ้า ดังมีแจ้งต่อไปนี้ เพื่อพระราชทานเป็นของ
แจกในงานเลื่อนกรมข้าพเจ้า ที่ทรงเป็นพระราชธุระส่วนพระองค์ โดย
ฐานที่ทรงตั้งอยู่ในทีเป็นผู้ใหญ่ของข้าพเจ้า. มีเวลาทำน้อย ระเบียบที่
จัดไม่เรียบร้อยไปโดยตลอด และคัมภีร์เป็นที่มาบางแห่ง ก็ต้องอ้าง
แต่ที่เป็นชั้นรอง เช่นมังคลัตถทีปนี ที่ชักคำในแห่งอื่นมากล่าวไว้อีก
ต่อหนึ่ง ถึงอย่างไรก็พอจะยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ตามความมุ่งหมาย
ซึ่งกล่าวแล้วในข้างต้น.
กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที ๑๖ ตุลาคม ร. ศ๓๙. ๑๒๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น